วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2552

พระมหากษัตริย์ไทยกับดาราศาสตร์


หน้าหลัก
ข่าวดาราศาสตร์
ห้องสนทนา
ปรากฏการณ์ท้องฟ้า
กิจกรรม
ห้องสมุด
สารพันคำถาม
รายงาน
เกี่ยวกับสมาคมฯ
ดาราศาสตร์โอลิมปิก
ปทานุกรมดาราศาสตร์
วารสารทางช้างเผือก
ห้องภาพท้องฟ้า
จดหมายถึง thaiastro
แผนผังเว็บไซต์
[ หน้าแรก สมเด็จพระนารายณ์มหาราช รัชกาลที่ 4 รัชกาลที่ 5 รัชกาลที่ 7 รัชกาลที่ 9 สมเด็จพระเทพฯ ]
สุริยุปราคาครั้งสำคัญที่เห็นได้ในประเทศไทยครั้งล่าสุด ได้แก่ สุริยุปราคาเต็มดวง วันที่ 20 มิถุนายน พุทธศักราช 2498 เวลาที่เกิด 10 นาฬิกา 19 นาที นาน 6 นาที ตัวอย่างจังหวัดที่เห็นได้ เช่น กรุงเทพฯ กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง และอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ครั้งนั้นมีนักดาราศาสตร์ต่างประเทศเดินทางมาประเทศไทย หนังสือพิมพ์สารเสรี พาดหัวข่าวหน้า 1 และในโอกาสนั้นสมเด็จพระราชชนนี พร้อมด้วยสมเด็จพระพี่นางฯ เสด็จทอดพระเนตรอาทิตย์ดับที่อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
สุริยุปราคาเต็มดวงที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งที่ 2 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในวันที่ 24 ตุลาคม พุทธศักราช 2538 จะผ่านประเทศไทยหลายจังหวัด เริ่มต้นจาก จังหวัดตาก ผ่านกำแพงเพชร นครสวรรค์ ไปสิ้นสุดที่จังหวัดสระแก้ว รวม 11 จังหวัด 34 อำเภอ เวลาที่เกิดเริ่มต้น 10 นาฬิกา 42 นาที ที่อำเภอแม่ระมาดจังหวัดตาก
สมเด็จพระราชชนนีและสมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา เสด็จไปปาฐกถาของศาสตราจารย์ สไมลี่ ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกี่ยวกับ "สัญฐานของจักรวาล" เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2498 ก่อนวันเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง 1 วัน
สุริยุปราคาเต็มดวง วันที่ 20 มิถุนายน 2498
สมาคมดาราศาสตร์ไทย - http://thaiastro.nectec.or.th

ประวัติโรงพยาบาลค่ายสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก

ประวัติโรงพยาบาลค่ายสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก


โรงพยาบาลค่ายสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก จัดตั้งขึ้นตามคำสั่ง ทบ. (เฉพาะ) ที่ ๓๓๓/๒๕๒๖ ลง ๑๕ พ.ย. ๒๖ มีนามหน่วยว่า “โรงพยาบาลจังหวัดทหารบกสุรินทร์ (ส่วนแยกบุรีรัมย์) มีที่ตั้งชั่วคราวอยู่ที่บ้านน้ำซับ ตำบลเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยดัดแปลงอาคารชั้นล่าง กองร้อยสนับสนุนการช่วยรบ กองพันทหารราบที่ ๔ กรมทหารราบที่ ๒๓ เป็นสถานที่รักษาพยาบาล ตั้งแต่ปี ๒๕๒๙ - ๒๕๓๑ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก มทภ.๒, องค์การสงเคราะห์ผู้ประสบภัยและลี้ภัย และภาคเอกชนอื่น ๆ
พ.ศ.๒๕๓๒ - ๒๕๓๓ ได้ก่อสร้างอาคารชั่วคราวขึ้นอีก ๒ อาคาร โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากงบพัฒนาจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งจัดสรรโดย สส.สวัสดิ์ คชเสนีย์ และ สส.อนุวรรตน์ วัฒนพงษ์ศิริ
พ.ศ.๒๕๓๓ ได้แปรสภาพจาก “โรงพยาบาลจังหวัดทหารบกสุรินทร์ (ส่วนแยกบุรีรัมย์) เป็น “โรงพยาบาลจังหวัดทหารบกบุรีรัมย์” ตามคำสั่ง ทบ. ที่ ๑๒๙/๒๕๓๓ ลง ๑๔ ส.ค. ๓๓ เรื่อง แปรสภาพหน่วยและปรับการจัดหน่วย มทบ./จทบ. และต่อมาได้เปลี่ยนนามหน่วยอีกครั้งหนึ่ง เป็น “โรงพยาบาลค่ายสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก” ตามคำสั่ง ทบ. (เฉพาะ) ที่ ๒๒๗/๒๕๓๓ ลง ๒๐ ธ.ค. ๓๓
พ.ศ.๒๕๓๗ กองทัพบกได้อนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้าง โครงการปรับปรุงโรงพยาบาลขนาด ๓๐ เตียง ของจังหวัดทหารบกบุรีรัมย์ ซึ่งขณะนี้ การ

ฉัตร

ฉัตร คือ ร่มซ้อนชั้น ใช้เป็นเครื่องประกาศเกียรติยศของพระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ชั้นสูงและผู้ที่มีพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ พระราชทานให้โดยเฉพาะ

ฉัตรมี 2 ประเภท แต่ละประเภทแบ่งเป็นดังนี้

1. เศวตรฉัตร ประกอบไปด้วย

นพปฎลมหาเศวตรฉัตร เป็นฉัตร 9 ชั้น สำหรับเฉพาะองค์พระมหากษัตริย์เท่านั้น ใช้ประดิษฐานเหนือพระแท่นที่ประทับ หากจะใช้ในพิธีอื่น หรือ เชิญออกในการทัพการศึกก็ให้ลดจำนวนชั้นลง เหลือเพียง 7 ชั้น

สัปตปฎลเศวตรฉัตร เป็นฉัตร 7 ชั้น สำหรับเฉพาะพระมหาอุปราชใช้ประดิษฐานเหนือพระแท่นที่ประทับ หากจะใช้ในพิธีอื่นหรือเชิญออกในการทัพการศึก ก็ให้ลดจำนวนชั้นลงเหลือเพียง 5 ชั้น

เบญจปฎลเศวตรฉัตร เป็นฉัตร 5 ชั้น เฉพาะสำหรับกรมพระราชวังหลัง และพระบัณฑูรน้อย ใช้ประดิษฐานเหนือพระแท่นที่ประทับ หากใช้ในสถานที่พิธีอื่น หรือเชิญออกในการทัพการศึก ก็ให้ลดจำนวนชั้นลงเหลือเพียง 3 ชั้น

ฉัตร 3 ชั้น เป็นฉัตรเฉพาะสำหรับ สมเด็จพระสังฆราช ไม่เคยปรากฏว่ามีการนำออกใช้นอกสถานที่ประทับ

การใช้ฉัตรที่เป็นเศวตรฉัตรนี้ ตามราชประเพณีแล้วจะไม่มีผู้ใดร่วมใช้ด้วยแม้แต่พระราชินี หรือพระชายา ของผู้ที่ทรงสิทธิ์ในเศวตรฉัตรนั้นๆ

2. ฉัตรเบญจา

เป็นฉัตร 5 สี ซึ่งหมายรวมไปถึงฉัตรสีที่เขียนลายที่เรียกว่า ฉัตรกำมะลอด้วย ฉัตรเบญจานี้ ใช้สำหรับเชิญตั้งหรือเชิญเข้าร่วมขบวนแห่ในพระราชพิธี
หน้าแรกการศึกษา/วิชาการ หน้าแรกความรู้รอบตัว หน้าแรกประวัติบุคคลสำคัญ

ราชาศัพท์

คำราชาศัพท์
Page 1 2 3 4 5 6 7
ภาษาไทย เป็นภาษาประจำชาติของคนไทย ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจอย่างยิ่งทั้งยังมีลักษณะพิเศษเฉพาะไม่เหมือนกับภาษาอื่นใดในโลกเราทุกคนจึงควรรักษาภาษาไทยอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรม ให้สืบทอดต่อกันมาจนถึงคนไทยรุ่นใหม่ตลอดไป

ภาษาไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงมาตลอดเวลา เพื่อให้เข้ากับแต่ละยุคแต่ละสมัย และยังรับเอาภาษาต่างประเทศอื่นๆ เข้ามาผสมกลมกลืนกับภาษาไทย ทำให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นภาษาของเราเอง

ในการที่ไทยมีระเบียบประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามนี้นั้นทำให้รู้จักนำภาษาไทยมาใช้ได้อย่างเหมาะสมกับฐานะของบุคคล แสดงให้เห็นถึงความมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวของภาษาไทย ไม่มีภาษาอื่นใดเสมอเหมือน เพราะว่าในการนำมาใช้กับบุคคลแต่ละฐานะนั้น เราใช้คำในภาษาไทยไม่เหมือนกัน แม้ว่าความหมายจะเป็นอย่างเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแล้ว ถ้าเป็นพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ที่เราเทิดทูนเราก็มีภาษาไทยลักษณะพิเศษอีกชุดหนึ่งที่นำมาใช้ซึ่งเราเรียกว่าราชาศัพท์

ราชาศัพท์
เป็นคำสมาส ซึ่งเป็นภาษาบาลีและสันสกฤตรวมกัน ราช, ราชา + ศัพท์ = ราชาศัพท์ หมายถึง คำเฉพาะใช้สำหรับเพ็ดทูลพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านาย ต่อมาหมายรวมถึงคำที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์ ข้าราชการ และสุภาพชนด้วย

ส่วนใหญ่มีความเข้าใจว่าเป็นถ้อยคำภาษาที่ใช้กราบบังคมทูลกับพระมหากษัตริย์, พระบรมวงศานุวงศ์ และพระมหากษัตริย์, พระบรมวงศานุวงศ์ ใช้พูดกัน ทำให้คิดว่าเป็นภาษาไทยอีกประเภทหนึ่งที่แยกออกไปจากภาษาไทยที่คนโดยทั่วไปใช้กัน

ความหมายของราชาศัพท์นั้น หมายรวมถึงศัพท์หรือถ้อยคำที่ใช้กับ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ

พระบรมวงศานุวงศ์, พระราชวงศ์

พระภิกษุ

ข้าราชการและสุภาพชนทั่วไป

คำราชาศัพท์
นั้นเป็นคำที่ตกแต่งขึ้นเพื่อให้มีความเหมาะสมและมีลักษณะพิเศษ สมควรใช้แก่ผู้ที่เราเคารพนับถือ คำที่นำมาตกแต่งให้เป็นราชาศัพท์นั้นมีเฉพาะคำนามและคำกริยาเท่านั้น โดยได้นำภาษาอื่นเข้ามาผสมผสานให้กลมกลืนกับภาษาไทย ดังจะกล่าวถึงลักษณะของคำราชาศัพท์ คือ

เป็นคำไทย
คำนาม
จะต้องมีคำว่า พระ, พระราชา นำหน้าเพื่อตกแต่งให้เป็นราชาศัพท์ เช่น พระเจ้าแผ่นดิน, พระมเหสี, พระพี่นาง, พระเก้าอี้, พระฉาย, พระสนับเพลา ฯลฯ

คำกริยา
จะต้องมีคำว่า ทรง นำหน้า คำนาม, คำกริยา เพื่อตกแต่งให้เป็นคำราชาศัพท์ เช่น ทรงสกี, ทรงม้า, ทรงเล่นกีฬา ฯลฯ

เป็นคำประสม ได้แก่
คำไทยประสมกัน
เช่น รับสั่ง (พูด), ห้องเครื่อง (ครัว)

คำไทยประสมกับคำต่างประเทศ
เช่น น้ำพระทัย, รองพระบาท, ทอดพระเนตร, สนพระทัย, บั้นพระองค์

เป็นคำที่ยืมมาจากภาษาอื่น ได้แก่
ยืมมาจากภาษาบาลี + สันสกฤต
โดยเติมคำว่า "พระ" หรือ "พระราช" เข้าข้างหน้า เช่น พระเนตร, พระพักตร์, พระนัดดา, พระโอรส

ยืมมาจากภาษาเขมร
เช่น พระขนง (คิ้ว), พระศก, พระราชดำริ, เสวย, พระสรวล, ถวาย เป็นต้น


คำนามราชาศัพท์

ดังได้กล่าวในตอนต้นแล้วว่า ภาษาไทยมีลักษณะเด่นคือเป็นคำโดดๆ มีคำที่นำมาใช้น้อยมาก จึงจำเป็นต้องนำคำจากภาษาอื่นมาประสม และเมื่อจะนำมาใช้เป็นคำราชาศัพท์นั้นก็ใช้คำต่างๆ มาประกอบลงไปข้างหน้าหรือข้างหลัง (ท้ายคำ) คำสามัญที่ต้องการใช้เป็นราชาศัพท์มีคำว่า "พระบรมราช" "พระบรม", "พระราช", "พระ", "ต้น", "หลวง", "พระที่นั่ง" ดังมีวิธีการใช้ดังนี้

คำว่า "พระบรมราช" ใช้ประกอบหน้าคำสามัญสำหรับพระเจ้าแผ่นดินโดยเฉพาะ เช่น พระบรมราชชนนี, พระบรมราชโองการ, พระบรมราโชวาท เป็นต้น

คำว่า "พระบรม" ใช้ประกอบหน้าคำที่ใช้เฉพาะพระมหากษัตริย์ เช่น พระบรมฉายาลักษณ์, พระบรมศพ ฯลฯ

คำว่า "พระราช" ใช้ประกอบหน้าคำที่ใช้เฉพาะพระมหากษัตริย์และสมเด็จพระบรมราชินี เช่น พระราชโทรเลข, พระราชหัตถเลขา ฯลฯ

คำว่า "พระ" ใช้ประกอบหน้าคำสามัญที่ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์เพื่อให้แตกต่างกับสามัญชน เช่น พระเก้าอี้, พระกร, พระแท่น, พระชีพจร ฯลฯ

คำว่า "ต้น" ใช้ประกอบท้ายคำนามทั่วไป เพื่อแสดงว่าเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ เช่น เครื่องต้น, ช้างต้น, เรือนต้น ฯลฯ

คำว่า "หลวง" ใช้ประกอบท้ายคำนามทั่วไป เพื่อแสดงว่าเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ เช่น ลูกหลวง, ศาลาหลวง, วังหลวง, ม้าหลวง, ช้างหลวง ฯลฯ ยกเว้น คำที่มี หลวง อันมีความหมายว่า ใหญ่ ไม่ถือว่าเป็นคำราชาศัพท์ เช่น ทางหลวง, เมืองหลวง, สวนหลวง, กุ้งหลวง

คำว่า "พระที่นั่ง" ใช้ประกอบหน้าคำที่เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์และแสดงว่าเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ เช่น รถพระที่นั่ง, เรือพระที่นั่ง ฯลฯ


คำสรรพนามราชาศัพท์

คำสรรพนามราชาศัพท์
เป็นคำที่ใช้แทนชื่อบุคคลตามชั้นฐานันดรศักดิ์ที่ต่างกัน เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับลักษณะการใช้ จึงบัญญัติคำขึ้นดังนี้

คำ
ผู้ใช้
ใช้กับ
สรรพนามที่ใช้แทนชื่อผู้พูด (บุรุษที่ ๑)
ข้าพระพุทธเจ้า
บุคคลทั่วไป
พระราชา, หรือ เจ้านายชั้นสูง
เกล้ากระหม่อม
บุคคลทั่วไปหรือเจ้านายผู้น้อย
เจ้านายผู้ใหญ่



สรรพนามที่ใช้แทนผู้ที่พูดด้วย (บุรุษที่ ๒)
ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท
เจ้านายหรือ บุคคลทั่วไป
พระราชา, พระบรมราชินีนาถ
ใต้ฝ่าละอองพระบาท
เจ้านายหรือ บุคคลทั่วไป
พระบรมราชินี, พระบรมราชชนนี, พระบรมโอรสาธิราช, พระบรมราชกุมารี
ใต้ฝ่าพระบาท
เจ้านายหรือ บุคคลทั่วไป
สมเด็จเจ้าฟ้า, พระบรมวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า
ฝ่าพระบาท
บุคคลทั่วไป
อนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า ถึงพระเจ้าวรวงศ์เธอ



ใต้เท้ากรุณาเจ้า
บุคคลทั่วไป
สมเด็จเจ้าพระยา



ใต้เท้ากรุณา
บุคคลทั่วไป
เจ้าพระยา, ขุนนางชั้นสูง หรือพระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่



ใต้เท้า
บุคคลทั่วไป
ขุนนางผู้ใหญ่ หรือพระภิกษุที่นับถือ



พระคุณเจ้า
บุคคลทั่วไป
พระสงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์



พระคุณท่าน
บุคคลทั่วไป
พระภิกษุสงฆ์ทั่วไป



พระเดชพระคุณ
บุคคลทั่วไป
เจ้านาย หรือพระภิกษุที่นับถือ



สมเด็จพระบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า
พระภิกษุสามเณร
พระราชา (ในฐานะยกย่องมาก)



บพิตรพระราชสมภาร
บุคคลทั่วไป
พระราชา



หรือมหาบพิตร
บุคคลทั่วไป
เจ้านายหรือขุนนางชั้นสูง



เธอ
ผู้ใหญ่ หรือบุคคลทั่วไป
ผู้น้อย บุคคลทั่วไป (ในฐานะสนิทกัน)



สรรพนามที่ใช้แทนผู้ที่พูดถึง (บุรุษที่ ๓)
พระองค์
บุคคลทั่วไป หรือเจ้านาย
พระพุทธเจ้า, เทพผู้เป็นใหญ่, พระราชา และเจ้านาย



ท่าน
บุคคลทั่วไป
เจ้านาย, ขุนนางผู้ใหญ่, พระภิกษุ และผู้ใหญ่ที่นับถือ





การเทียบคำสามัญ กับคำราชาศัพท์

คำสามัญ
คำราชาศัพท์


กรรไตร
พระแสงกรรไตร
กรรไกร
พระแสงปนาค
กรอบหน้า
พระอุณหิส


กระจกส่องหน้า
พระฉาย


กระดานไฟ
พระแท่นบรรทมเพลิง


กระดูก
พระบรมอัฐิ, บรมอัฐิ


กระดูก
พระอัฐิ (เจ้านาย)


กระดูกศพที่เผาแล้ว
พระอังคาร


กระโถนเล็ก
พระสุพรรณศรี


กระโถนใหญ่
พระสุพรรณราช


กระโถน
บ้วนพระโอษฐ์ (เจ้านาย)


กระบวย
ทรงตัก


กระบวนทัพ
พยุหบาตร


กระบวนพลรบ
พยุหโยธา


กระบังหน้า
พระอุณหิส


กระเป๋าหมากบุหรี่
พระล่วม
กระพุ้งแก้ม

พระกำโบล

กระผม

ข้าพระพุทธเจ้า (พระราชา)

กระผม

เกล้ากระหม่อม (เจ้านาย)

กระผม

เกล้ากระผม (ข้าราชการผู้ใหญ่)

กระผม

เกล้ากระผม (พระภิกษุผู้ใหญ่)

กระผม

เกล้ากระผม (พระภิกษุที่นับถือ)

กระผม

เกล้าฯ (ข้าราชการผู้ใหญ่, ภิกษุที่นับถือ)

กะพริบตา

ทรงกะพริบพระเนตร

กระแอม

ทรงกระแอม

กระแอม

ทรงพระขิปสัทโท (-จากจินดามณี)

กองทัพใหญ่

หยุหแสนยากร

กริช

พระแสงกริช

กริ้ว

ทรงพระพิโรธ

กล้วยกุ

กล้วยสั้น

กล้วยไข่
กล้วยกระ


กล้วยไข่
กล้วยเปลือกบาง


ก้น
พระที่นั่ง


กะปิ
เยื่อเคย


กั้นร่ม
อยู่งานพระกลด


กั้นกลด
ถวายพระกลด


กั้นฉัตร
เถลิงฉัตร


กับข้าว
เครื่องคาว


กางเกง
พระสนับเพลา


กางเกื้อกูลอุดหนุน
พระบรมราชูปถัมภ์ (พระราชา)


การเกื้อกูลอุดหนุน
พระบรมราชินูปถัมภ์ (พระราชินี)


การเขียนหนังสือ
ทรงพระอักษร


การตกแต่งซ่อมแซม
ทรงปฏิสังขรณ์


การแต่งตัว
ทรงเครื่อง (พระราชา)


การแต่งตัว
แต่งพระองค์ (เจ้านาย)


การแต่งหนังสือ
ทรงพระราชนิพนธ์ (พระราชา)


การแต่งหนังสือ
ทรงนิพนธ์ (เจ้านาย)


การแต่งหนังสือ
ทรงเรียบเรียง (เจ้านาย)


การแต่งหนังสือ
ทรงแต่ง (เจ้านาย)


การทักทาย

พระราชปฏิสันถาร (พระราชา)

การทักทาย
ทรงปฏิสันถาร (เจ้านาย)


การนั่งยามตามไฟ
กลาบาต


การรดน้ำ (สมรส)
อภิเษก


การถือ
เชิญ


การยก
เชิญ


การนำ
เชิญ


กิน
เสวย


กินยา
เสวยพระโอสถ


เกิด
พระบรมราชสมภพ (พระราชา)


เกิด
ประสูติ (เจ้านาย)


เกื้อกูลอุดหนุน
พระอุปถัมภ์ (เจ้านาย)


แก่เฒ่า
ทรงพระชรา


แก้ม
พระปราง


โกนจุก
โสกันต์ (พระราชา)


โกนจุก
เกศากันต์ (หม่อมเจ้า)


โกนจุก
จรดกรรบิดกรรไตร (ม.ร.ว.)


โกรธ
ทรงพระพิโรธ


กำไลข้อเท้า
ทอง (ข้อ) พระบาท


กำไลข้อมือ
ทอง (ข้อ) พระกร


กำไลรัดต้นแขน
พาหุรัด


กำมือ
พระมุฐิ


กำหมัด
พระมุฐิ


เก้าอี้ธรรมดา
พระเก้าอี้




ขน
พระโลมา


ขนตา
พระโลมะจักษุ


ขนระหว่างคิ้ว
พระอุณาโลม


ขนรักแร้
พระโลมะกัจฉะ


ขนในที่บลับ
พระโลมะชาติ


ขนมขี้หนู
ขนมทราย


ขนมใส่ไส้
ขนมสอดไส้


ขนมตาล
ขนมทองฟู


ขนมจีน
ขนมเส้น


ขนมเทียน
ขนมบัวสาว


ขรรค์
พระขรรค์


ขอ
ขอพระราชทาน (พระราชา)


ขอ
ขอประทาน (เจ้านาย)


ขอโทษ
ไม่ควรจะกราบบังคมทูลพระกรุณา (ใช้กับพระราชา)


ขอโทษ
ไม่ควรจะกราบบังคมทูล (ใช้กับเจ้านายชั้นสูง)


ขอโทษ
ไม่ควรจะกราบทูล (ใช้กับเจ้านาย)


ขอโทษ
ไม่ควรจะกราบเรียน (ใช้กับขุนนางชั้นสูง)


ขอโทษ
ขอประทานอภัยโทษ (ใช้กับขุนนาง, ภิกษุ)


ขอโทษ
ขอประทานโทษ (ใช้กับขุนนาง, ภิกษุ)


ขอโทษ
ขออภัยโทษ (ใช้กับบุคคลทั่วไป)


ขอรับ (ตอบรับ)
พระพุทธเจ้าข้าขอรับใส่เกล้าใส่กระหม่อม (ใช้กับพระราชา)


ขอรับ
เพคะใส่เกล้าใส่กระหม่อม (หญิงใช้กับพระราชา)


ขอรับ
พระพุทธเจ้าข้าขอรับ (ชายใช้กับเจ้านายชั้นสูง)


ขอรับ
พระพุทธเจ้าข้า (ชายใช้กับเจ้านายชั้นสูง)


ขอรับ
ขอรับกระหม่อม (ชายใช้กับ ม.จ.)


ขอรับ
กระหม่อม (ชายใช้กับ ม.จ.)


ขอรับ
เพคะกระหม่อม (หญิงใช้กับเจ้านายชั้นสูง)


ขอรับ
เพคะ (หญิงใช้กับเจ้านาย)


ขอรับ
ขอรับใส่เกล้าใส่กระหม่อม (ชายใช้กับสมเด็จเจ้าพระยา)


ขอรับ
ขอรับกระหม่อม (ชายใช้กับขุนนางชั้นสูง)


ขอรับ
ขอรับผม (ชายใช้กับขุนนาง, ภิกษุที่ยกย่อง)


ขอรับ
ครับผม (ชายใช้กับขุนนาง, ภิกษุที่ยกย่อง)


ขอรับ
เจ้าข้า (หญิงใช้กับขุนนาง, ภิกษุที่ยกย่อง)


ขอรับ
เจ้าค่ะ (หญิงใช้กับขุนนาง, ภิกษุที่ยกย่อง)


ขอเรียน (คำขึ้นต้น จ.ม.)
ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม (ใช้กับพระราชา)


ขอเรียน (จ่าหน้าซอง จ.ม.)
ขอพระราชทานทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย (ใช้กับพระราชา)


ขอเรียน (คำขึ้นต้น จ.ม.)
ขอพระราชทานกราบบังคมทูล (ใช้กับพระราชินี, ยุพราช)


ขอเรียน (คำขึ้นต้น จ.ม.)
ขอประทานกราบทูล (ใช้กับเจ้านายชั้นสูง)


ขอเรียน (คำขึ้นต้น จ.ม.)
กราบทูล (ใช้กับเจ้านาย)


ขอเรียน (คำขึ้นต้น จ.ม.)
ทูล (ใช้กับเจ้านายผู้น้อย)


ขอเรียน (คำขึ้นต้น จ.ม.)
ขอประทานกราบเรียน (ใช้กับขุนนางชั้นสูง)


ขอเรียน (คำขึ้นต้น จ.ม.)
กราบเรียน (ชายใช้กับขุนนางผู้ใหญ่, ภิกษุ)


ขอเรียน (คำขึ้นต้น จ.ม.)
ขอถวายพระพร (ภิกษุใช้กับพระราชา, เจ้านาย)


ขอเรียน (คำขึ้นต้น จ.ม.)
ขอเจริญพร (ภิกษุใช้กับเจ้านายชั้นสูง)


ขอเรียนมายัง (คำขึ้นต้น จ.ม.)
เจริญพรมายัง (ภิกษุใช้กับขุนนาง, บุคคลทั่วไป)


ขอความเห็น
เรียนกระแสพระราชปฏิบัติ (พระราชา)


ขอความเห็น
กราบเรียนพระราชปฏิบัติ


ขออนุญาต
ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต (ใช้กับพระราชา)


ขออนุญาต
ขอพระราชทานอนุญาต (ใช้กับราชินี, ยุพราช)


ขออนุญาต
ขอประทานพระอนุญาต (ใช้กับเจ้านาย, สังฆราช)


ขออนุญาต
ขอประทานอนุญาต (ใช้กับขุนนางชั้นสูง)


ขอให้ (ของเล็ก)
ขอพระราชทานทูลเกล้าฯ ถวาย (ใช้กับพระราชา)


ของให้ (ของใหญ่)
ขอพระราชทานน้อมเกล้าฯ ถวาย (ใช้กับพระราชา)


ขอให้ (สิ่งของ)
ขอประทานถวาย (เจ้านาย, สังฆราช)


ข้อเท้า
ข้อพระบาท


ข้อมือ
ข้อพระหัตถ์


ข้อมือ
ข้อพระกร


ข้อศอก
พระกัปปะ


ของกิน
เครื่องเสวย


ของเคียง
เครื่องเคียง


ของคาว (อาหาร)
พระกระยาหาร


ของว่าง (อาหาร)
เครื่องว่าง


ของหวาน (อาหาร)
เครื่องหวาน


ของประดับเกียรติ
เครื่องสูง


ของลับ (อวัยวะ)
พระคุยหฐาน


ของลับ (อวัยวะ)
พระคุยหประเทศ


ขอบตา
ขอบพระเนตร


ขอบใจ
รู้สึกขอบพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นเกล้าฯ (ใช้กับพระราชา, ราชินี, ยุพราช)


ขอบใจ
รู้สึกขอบพระเดชพระคุณเป็นล้นเกล้าฯ (ใช้กันเจ้านายชั้นสูง)


ขอบใจ
ขอบพระทัย (ใช้กับเจ้านาย)


ขอบใจ
รู้สึกขอบพระทัย (ใช้กับเจ้านาย)


ขอบใจ
รู้สึกขอบพระคุณ (ขุนนางชั้นสูง)


ขังคุก
ใส่คุก


ขังตะราง
ใส่ตะราง


ขังทิม
ใส่ทิม


ขังเล้า
ใส่เล้า


ขังกรง
ใส่กรง


ขังตุ่ม
ใส่ตุ่ม


ขันน้ำ
ขันพระสุธารส


ขมับ
พระกรรเจียก


ขา (ตัก)
พระเพลา


ขากรรไกร
ต้นพระหนุ


ขาอ่อน
พระอูรุ


ข้าพเจ้า
ข้าพระพุทธเจ้า (พระราชา)


ข้าพเจ้า
เกล้ากระหม่อม (เจ้านายผู้ใหญ่)


ข้าพเจ้า
เกล้ากระผม (ข้าราชการผู้ใหญ่และภิกษุ)


ข้าพเจ้า
เกล้าฯ (ข้าราชการผู้ใหญ่และภิกษุ)


ข้าพเจ้า
กระผม (ข้าราชการผู้ใหญ่และภิกษุ)


ข้าราชการในพระองค์
บาทมูลิกากร


ข้าว
พระกระยาเสวย (พระราชา)


ข้าว
ข้าวเสวย (เจ้านาย)


ขี่ช้าง
ทรงช้าง


ขี่รถ
ทรงรถ


ขี่เรือ
ทรงเรือ


ขี้ (คน)
มูตร


ขี้
อุจจาระ


ขี้กลาก
โรคกลาก


ขี้เกลื้อน
โรคเกลื้อน


ขี้สัตว์
มูลสัตว์


ขี้ไคล
พระเมโท


ขี้ดิน
มูลดิน


ขี้เต่า (ของคน)
มูลพระกัจฉะ


ขี้ตืด
ตระหนี่


ขี้ครั่ง
มูลครั่ง


ขี้ผึ้ง
สีผึ้ง


ขี้ฝอย
กุมฝอย


ขี้มูก
มูลพระนาสิก


ขี้แมลงวัน (ของคน)
พระปีลกะ, ปิฬก


ขี้เรื้อน
โรคเรื้อน


ขี้หู
มูลพระโสต


ขึ้นคลัง
ใส่คลัง


เข็มขัด (ประดับ)
พระปั้นเหน่ง


เข็มขัด (รัดเอวให้แน่น)
รัดพระองค์


เข่า
พระชานุ


เข้านอน
เสด็จเข้าที่บรรทม


เขียนหนังสือ
ทรงพระอักษร


เขี้ยว
พระฑาฐะ


เขี้ยว
พระฑาฒะ


แขน (เหนือศอก)
พระพาหา


แขน (เหนือศอก)
พระพาหุ


แขน (ใต้ข้อศอก)
พระกร


แข้ง
พระชงฆ์


ไขสมอง
พระมัตถลุงค์


ไขข้อ
พระลสิกา


ไข่ไก่
ฟองไก่


เขย (พี่)
พระเชษฐภรรดา


เขย (น้อง)
พระขนิษฐภคินี


เขย (ลูก)
พระชามาดา




คนขอทาน (ทั่วไป)
ยาจก


คนขอทาน
วณิพก (ผู้ร้องรำทำเพลง)


คนรับใช้ชาย
มหาดเล็ก


คนรับใช้หญิง
นางข้าหลวง


คนรับใช้
ข้าหลวงน้อย (เจ้านาย)


คนรับใช้ชิมของกิน
มหาดเล็กหรือนางข้าหลวงเทียบเครื่อง


คนที
กุณฑี (หม้อน้ำไม่มีหู)


คนโทน้ำลายทอง
พระสุวรรณภิงคาร


คนโทน้ำเย็น
พระตะพาบ


คนเลี้ยงช้าง
คชาชีพ


ความคิด
พระราชดำริ (พระราชา)


ความคิด
พระดำริ (เจ้านาย)


ความต้องการ
พระราชประสงค์ (พระราชา)


ความต้องการ
พระประสงค์ (เจ้านาย)


ความประพฤติ
พระจริยวัตร


ควาย
กระบือ


คอ
พระศอ


คอ
พระกัณฐ์, กัณฐา


คอ
พระกรรฐ์


คอ
พระกรรฐา


คอกขังช้างสำหรับคล้อง
พะเนียด


คลัง
รัตนากร


ครัว
ห้องเครื่อง


คำแก้ขัดข้อง
พระราชปฏิบัติ


คำขานรับ
พระพุทธเจ้าข้า ขอรับใส่เกล้าใส่กระหม่อม (ชายใช้กับพระราชา)


คำขานรับ
เพคะใส่เกล้าใส่กระหม่อม (หญิงใช้กับพระราชา)


คำขานรับ
พระพุทธเจ้าข้าขอรับ (ชายใช้กับเจ้านายชั้นสูง)


คำขานรับ
พระพุทธเจ้าข้า (ชายใช้กับเจ้านายชั้นสูง)


คำขานรับ
ขอรับกระหม่อม (ชายใช้กับ ม.จ.)


คำขานรับ
กระหม่อม (ชายใช้กับ ม.จ.)


คำขานรับ
เพคะกระหม่อม (หญิงใช้กับเจ้านายชั้นสูง)


คำขานรับ
เพคะ (หญิงใช้กับเจ้านาย)


คำขานรับ
ขอรับใส่เกล้าใส่กระหม่อม (ชายใช้กับสมเด็จเจ้าพระยา)


คำขานรับ
ขอรับกระผม (ชายใช้กับขุนนางชั้นสูง)


คำขานรับ
ขอรับผม (ชายใช้กับขุนนาง, ภิกษุที่ยกย่อง)


คำขานรับ
ครับผม (ชายใช้กับขุนนาง, ภิกษุที่ยกย่อง)


คำขานรับ
ขอรับ (ชายใช้กับบุคคลทั่วไป, ภิกษุสามเณร)


คำขานรับ
เจ้าข้า (หญิงใช้กับบุคคลทั่วไป, ภิกษุสามเณร)


คำขานรับ
เจ้าค่ะ (หญิงใช้กับบุคคลทั่วไป, ภิกษุสามเณร)


คำตัดสิน
พระบรมราชวินจฉัย (พระราชา)


คำตัดสิน
พระวินิจฉัย (เจ้านาย)


คำถามในข้อปัญหา
พระราชปุจฉา (พระราชา)


คำพูด
พระราชดำรัส (พระราชา)


คำพูด
พระราชกระแส (พระราชา)


คำพูด
พระดำรัส (เจ้านายชั้นสูง)


คำพูด
รับสั่ง (เจ้านาย)


คำสอน
พระบรมราโชวาท (พระราชา)


คำสอน
พระโอวาท (เจ้านาย)


คำสั่ง
พระบรมราชโองการ (พระราชา)


คำสั่ง
พระราชเสาวนีย์ (พระราชินี)


คำสั่ง
พระบัณฑูร (กรมพระ....)


คำสั่ง
พระบัญชา (เจ้านาย)


คำอธิบาย
พระบรมราชาธิบาย (พระราชา)


คำอธิบาย
พระราชาธิบาย (พระบรมราชินีนาถ)


คาง
พระหนุ (หะ-นุ)


คานหาม
ยานมาศ


คานหาม
เสลี่ยง


คิด
ทรงพระราชดำริ


คิดถึง
มีพระราชหฤทัยระลึกถึง (พระราชา)


คิดถึง
ทรงระลึกถึง (เจ้านาย)


คิ้ว
พระขนง


คิ้ว
พระโขนง


คิ้ว
พระภมู


คุณชาย
หม่อมราชวงศ์ชาย


คุณหญิง
หม่อมราชวงศ์หญิง


เครา
พระฑาฐิกะ


เครา
พระฑาฒิกะ


เครื่องกิน
เครื่องเสวย


เครื่องจองจำ
สังขลิกพันธนาการ


เครื่องแต่งตัว
เครื่องทรง


เครื่องมีคม
พระแสง


เครื่องพ่นน้ำให้เป็นฝอย
พระสุหร่าย


เครื่องใช้
เครื่องราชูปโภค (พระราชา)


เครื่องประดับต้นแขน
พาหุรัด


เครื่องประดับเกียรติยศ
เครื่องสูง


เครื่องประดับกาย
พระปิลันธน์


เครื่องประดับกาย
พระภูษณะ


เครื่องประดับอก
ทับทรวง


เครื่องทรงสำหรับพระราชา
เครื่องต้น


เครื่องลาด
พระบรรจถรณ์


เครื่องสรง
พระกระยาสนาน


เครื่องสูงบังแดด
พระบังสูรย์


เครื่องสูงบังแดด
พระบังแทรก


เครื่องสวมหัวมียอดแหลมสูง
พระมหามงกุฎ (พระราชา)


เครื่องสวมหัวมียอดแหลมสูง
พระมหาชฎา (พระราชา)


เครื่องสวมหัวมียอดแหลมสูง
พระมงกุฎ (เจ้านาย)


เครื่องสวมหัวมียอดแหลมสูง
พระชฎา (เจ้านาย)


เครื่องสำอาง
พระสำอาง


เครื่องหอม
พระสุคนธ์


เค้าแมว (นก)
อุลูก (อู-ลู-กะ)


โคนขา
พระอูรุ


โคนลิ้น
มูลพระชิวหา


โคมระย้า
อัจกลับ


ไคล
พระเมโท





Page 1 2 3 4 5 6 7

พระราชลัญจกรประจำรัชกาล

พระราชลัญจกร คือตราที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้ประทับ กำกับพระปรมาภิไธยและประทับกำกับเอกสารสำคัญ ที่ออกในพระปรมาภิไธย เป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงพระราชอำนาจ และพระราชลัญจกรประจำแผ่นดินหรือประจำรัชกาลนั้น ยังเป็นเครื่องมงคลอีกด้วย ดังที่ปรากฎอยู่ในหมวดพระราชสิริซึ่งประกอบด้วย พระสุพรรณบัตร ดวงพระราชสมภพและ พระราชลัญจกรประจำแผ่นดิน ซึ่งจะต้องเชิญขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวายในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พร้อมกับเครื่องมงคลอื่น ๆ




พระราชลัญจกรมี ๔ ประเภท คือ

พระราชลัญจกรสำหรับแผ่นดิน ใช้ประทับกำกับเอกสารสำคัญที่ออกในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ เช่น พระราชลัญจกรมหาโองการ พระราชลัญจกรไอยราพต

พระราชลัญจกรประจำแผ่นดิน หรือประจำรัชกาล ใช้ประทับกำกับพระบรมนามาภิไธยในเอกสารสำคัญ

พระราชลัญจกรประจำพระองค์ ใช้ประทับกำกับพระบรมนามาภิไธย ในเอกสารสำคัญส่วนพระองค์ ที่ไม่เกี่ยวด้วยราชการแผ่นดิน

พระราชลัญจกรประจำเครื่องราชอิสสริยาภรณ์ ใช้ประทับประกาศนียบัตรเครื่องราชอิสสริยาภรณ์ตามที่ กำหนดไว้




พระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์

เป็นพระราชลัญจกรที่ใช้มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยกรุงธนบุรีก็ยังคงใช้ต่อเนื่อง นอกจากนั้นบรรดา เจ้าประเทศราชในสมัยกรุงธนบุรีก็ยังได้รับพระราชทานตราครุฑพ่าห์จำลองไปใช้ในราชการอีกด้วยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยังคงใช้พระราชลัญจกรองค์นี้เป็นพระราชลัญจกรสำหรับแผ่นดิน ในการผนึกพระราชสาส์นและหนังสือสัญญากับนานาประเทศ เช่นเดียวกับพระราชลัญจกรสำหรับแผ่นดินองค์อื่น ๆ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นโดยที่ยังไม่มีพระปรมาภิไธยรอบพระลัญจกร

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้า ฯ ให้ใช้พระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์เป็นพระราชลัญจกรประจำแผ่นดินเป็นการถาวร โดยให้เพิ่มพระปรมาภิไธยประจำรัชกาลที่ขอบรอบพระราชลัญจกร ได้ทรงตราพระราชบัญญัติพระราชลัญจกร ร.ศ.๑๓๐ (พ.ศ. ๒๔๕๔) ให้พระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ประจำแผ่นดินองค์ใหม่ ใช้ประทับกำกับพระบรมนามาภิไธยเท่านั้น ดังนั้นพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์อันเป็นพระราชลัญจกรสำหรับแผ่นดินมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จึงเปลี่ยนเป็นพระราชสัญจกรประจำแผ่นดินตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชลัญจกรประจำพระองค์ พระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ประจำแผ่นดิน สำหรับองค์หลังได้ทรงสร้างขึ้นเมื่อ วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๓ ณ อุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

พระมหากษัตริย์กรุงรัตนโกสินทร์

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
รัชกาลที่ 1



พ.ศ. 2325-2352 ครองราชย์ 27 พรรษา พระชนมายุ 74 พรรษา


องค์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 ตรงกับ วันพุธแรม 5 ค่ำ เดือน 4 ปีมะโรง ได้รับราชการ ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี เป็นพระยาราชนรินทรในกรมพระตำรวจ เจ้าพระยาจักรี และสมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก สมุหนายกและแม่ทัพใหญ่ในสมัยกรุงธนบุรี ทรงปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงสยาม เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 ทรงย้ายเมืองหลวงจากกรุงธนบุรีมาเป็นกรุงเทพมหานคร เริ่มสร้างพระบรม มหาราชวังและสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต เสร็จในปี พ.ศ. 2327

ทรงเป็นนักรบและตรากตรำการสงครามมาตั้งแต่ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ตลอดสมัยกรุงธนบุรีและในรัชสมัยของพระองค์เอง ในด้านการศาสนา ได้โปรดให้มีการสังคายนา ชำระพระไตรปิฎก พร้อมทั้งอรรถกถา ฎีกา ฯลฯ ณ วัดมหาธาตุ โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างหอมณเฑียรธรรมขึ้นในบริเวณวัดพระแก้ว พระบรมมหาราชวัง สำหรับเป็นที่เก็บคัมภีร์ ทางพระพุทธศาสนา และทรงจัดการปกครองคณะสงฆ์ให้เรียบร้อย

พระราชานุกิจ (กิจวัตรประจำวัน) ของพระองค์ ตลอดรัชสมัย เป็นที่น่าประทับใจ พระองค์ทรงงานตั้งแต่เช้าตรู่ จนดึกดื่นทุกวันมิได้ขาด เริ่มตั้งแต่ ทรงบาตรถวายภัตตาหารพระสงฆ์ ฟังรายงานจากพระคลังมหาสมบัติ ออกรับพระ บรมวงศานุวงศ์ และขุนนาง ฟังรายงานและ วินิจฉัยคดีจาก จางวางและปลัดกรมตำรวจ วินิจฉัยเหตุการณ์บ้านเมืองทั้งข้าราชการจากฝ่ายทหารและพลเรือน แล้วจึงเสวยพระกระยาหารเช้า แล้วพบข้าราชการฝ่ายใน หลังพระกระยาหารค่ำ ทรงฟังพระธรรมเทศนา ฟังรายงานการใช้จ่ายเงินคลัง การก่อสร้าง เสร็จแล้วเสด็จออกรับขุนนาง ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน กรมท่านำใบบอกหัวเมืองมากราบทูล ทรงวินิจฉัย ปัญหาต่าง ๆ อยู่จน 4 ทุ่ม หรือดึกกว่านั้น แล้วจึงเสด็จขึ้น

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
รัชกาลที่ 2



พ.ศ. 2352-2367 ครองราชย์ 15 พรรษา พระชนมายุ 58 พรรษา


เสด็จพระราชสมภพ เมื่อ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 พระนามเดิมว่า ฉิม เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ก่อนขึ้นครองราชย์ทรงดำรงพระยศเป็น เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ตำแหน่งพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระองค์มีความสามารถทางอักษรศาสตร์เป็นอย่างดี ทรงร่วมนิพนธ์วรรณคดี กับสมเด็จพระราชบิดาไว้หลายเรื่อง ได้แก่ อุณรุท รามเกียรติ์ อิเหนา และดาหลัง ซึ่งเรียกว่า พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1

นอกจากนี้ยังได้ทรงนำบทละครเก่ามานิพนธ์ขึ้นใหม่ ได้แก่ ไกรทอง คาวี ไชยเชษฐ์ สังข์ทอง มณีพิไชย ฯลฯ ด้านดนตรี ทรงเป็นเอตทัคคะในทาง สีซอสามสาย

ด้านศิลปะ โปรดการเขียนลวดลายอันวิจิตรงดงาม ตัวอย่างที่เด่นชัดปรากฎที่บานประตูวัดสุทัศน์เทพวราราม เมื่อปฐมวัยได้ ทรงติดตามพระราชบิดาไปในงานสงครามแทบทุกครั้ง ตั้งแต่พระชมมายุได้ 8 พรรษา

ทรงผนวช เมื่อพระชนมายุ 22 พรรษา ทรงจำพรรษา ณ วัดราชาธิวาส (วัดสมอราย) เป็นเวลา 1 พรรษา ลาผนวชแล้ว ทรงอภิเษกสมรสกับพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าหญิงบุญรอด ซึ่งต่อมาได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ในรัชสมัยของพระองค์ ประเทศโปรตุเกส และประเทศอังกฤษ ได้ส่งผู้แทนทางการทูต มาเจริญสัมพันธไมตรีเป็นครั้งแรก ในสมัยรัตนโกสินทร์ คือ ได้ส่งมา เมื่อ พ.ศ. 2361 และ พ.ศ. 2363 ตามลำดับ ด้านกฎหมาย ทรงปรับปรุงและออกกฎหมายต่าง ๆ ได้แก่ กฎหมายห้ามขายฝิ่น สัญญาเกี่ยวกับการซื้อขายที่ดิน พินัยกรรม และกฎหมายอาญาอื่น ๆ เช่น ความผิดเกี่ยวกับการลงโทษ ทั้งฝ่ายอาณาจักรและพุทธจักร

สุนทรภู่ กวีเอกของไทย มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในรัชกาลนี้

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 3



ครองราชย์ 26 ปี (พ.ศ. 2367-2394) พระชนมายุ 64 พรรษา


เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2330 มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าทับ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและเจ้าจอมมารดาเรียบ ก่อนขึ้นครองราชย์ทรงดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ได้ทรงเคยว่าราชการ มาหลายตำแหน่ง เช่น กรมท่า (กระทรวงการต่างประเทศ) กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมตำรวจ และผู้ว่าความในศาลฎีกา

ในรัชสมัยของพระองค์ เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ เอาใจออกห่าง กระด้างกระเดื่อง เป็นกบฎไปเข้ากับญวณ แล้วฉวยโอกาสยกทัพเข้าตีเมืองอุบล ร้อยเอ็ด ตัวเจ้าอนุวงศ์เองยกทัพจากเวียงจันทร์ลงมาตีเมืองนครราชสีมาได้ แล้วให้ทัพหน้าเข้าตีสระบุรี พระองค์ได้จัดทัพใหญ่เตรียมรับศึก ในกรุงเทพ ฯ ได้จัดการป้องกันพระนคร วางกำลัง รายรอบเมืองตั้งแต่ทุ่งบางเขนถึงทุ่งหัวลำโพง จัดกำลังทหารไปตั้งรับที่สระบุรี ทัพเจ้าอนุวงศ์ได้กวาดต้อนผู้คนไปเวียงจันทร์ทุกวัน คุณหญิงโม ภรรยาปลัดเมืองนครราชสีมา เป็นหัวหน้ารวบรวมพวกเชลยไทยต่อสู้ พอทัพจากกรุงเทพ ฯ ยกขึ้นไปช่วย เจ้าอนุวงศ์จึงถอยทัพกลับไปเวียงจันทร์ โดยวางกำลังคอยต้านทานกองทัพไทย ที่ยกไปตีเวียงจันทร์ไว้ที่เมืองหล่มเก่า และเมืองภูเขียว

โปรดให้กรมพระราชวังบวรเป็นแม่ทัพ ยกทัพผ่านนครราชสีมา ขึ้นไปตีเวียงจันทร์สายหนึ่ง อีกสายหนึ่งให้กรมหมื่นสุรินทร์รักษ์เป็นแม่ทัพยกไปตีฝ่ายเจ้าอนุวงศ์ ที่มายึดเมืองอุบล และเมืองร้อยเอ็ด แล้วไปบรรจบกับกองทัพใหญ่ที่เวียงจันทร์ อีกสายหนึ่งให้เจ้าพระยาอภัยภูธรเป็นแม่ทัพ ยกไปตีฝ่ายเจ้าอนุวงศ์ที่เมืองหล่มสัก แล้วไปบรรจบทัพใหญ่ที่เวียงจันทร์ กองทัพไทยปราบกบฎเจ้าอนุวงศ์ได้ราบคาบ ตีกรุงเวียงจันทร์แตก จับเจ้าอนุวงศ์ได้ ในปี พ.ศ. 2371

เสร็จศึกแล้วได้โปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งคุณหญิงโม เป็นท้าวสุรนารี

ในรัชกาลของพระองค์ ประเทศไทยได้เริ่มเปิดประเทศรับชาวยุโรปอย่างกว้างขวาง อังกฤษ และ สหรัฐอเมริกา ส่งทูตเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับไทย การค้าขายกับ อังกฤษรุ่งเรืองมาก บางคราวมีเรือสินค้าเข้ามาจอดในแม่น้ำเจ้าพระยาถึง 50 ลำ ทางสหรัฐอเมริกาได้ส่งมิชชันนารีเข้ามาสอนศาสนา และนำเอาวิชาการแพทย์แผนใหม่ โรงพิมพ์หนังสือพิมพ์ และสอนภาษาอังกฤษให้คนไทย ผู้ที่ควรได้รับเกียรติในผลงานนี้ คือ หมอบรัดเลย์

ทรงโปรดให้มีประกาศห้ามนำฝิ่นเข้ามาขายในประเทศ และให้เก็บฝิ่นที่มีอยู่ในประเทศ นำไปเผาทั้งหมด

ด้านพระศาสนา ทรงทำนุบำรุงพุทธศาสนา สร้างวัดใหม่ 9 วัด บูรณะวัดเก่า 60 วัด โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระนอนใหญ่ที่วัดโพธิ์ และในรัชกาลนี้ ได้มีกวีแก้วแห่งกรุงรัตนโกสินทร์เกิดขึ้น คือ สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส (พระองค์ วาสุกรี พระราช โอรสในรัชกาลที่ 1)

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4



ครองราชย์ 16 ปี (พ.ศ. 2394-2411) พระชมมายุ 66 พรรษา


เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย และสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้ามหามาลา เมื่อพระชนมายุได้ 9 พรรษา ได้รับสถาปนาเป็นเจ้าฟ้ามงกุฎ มีพระราชอนุชาร่วมพระราชมารดา คือ เจ้าฟ้าจุฬามณี ซึ่งต่อมาได้รับสถาปนาเป็น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

เมื่อพระชนมายุได้ 21 พรรษา ได้ออกผนวชตามประเพณีและอยู่ในเพศบรรพชิต ตลอดรัชสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อรัชกาลที่ 3 สวรรคตจึงได้ลาสิกขามาขึ้นครองราชสมบัติ

ระหว่างที่ทรงผนวชประทับอยู่ที่วัดมหาธาตุ แล้วทรงย้ายไปอยู่วัดราชาธิวาส (วัดสมอราย) พระองค์ได้ทรงตั้งคณะสงฆ์ ชื่อ " คณะธรรมยุตินิกาย " ขึ้น ต่อมาทรงย้ายไปอยู่วัดบวรนิเวศวิหาร ได้รับแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะ และได้เป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศองค์แรก ทรงรอบรู้ภาษาบาลีและแตกฉานในพระไตรปิฎก นอกจากนั้น ยังศึกษาภาษาลาติน และภาษาอังกฤษจนสามารถใช้งานได้ดี

ในรัชสมัยของพระองค์ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส ต่างก็ส่งทูตมาขอทำสนธิสัญญาในเรื่อง สิทธิสภาพนอกอาณาเขตให้แก่คนในบังคับของตน และสิทธิการค้าขายเสรี ต่อมาไทยได้ทำสัญญาไมตรีกับประเทศนอร์เวย์ เบลเยี่ยมและอิตาลี และได้ทรงส่งคณะทูตออกไปเจริญพระราชไมตรีกับต่างประเทศ นับเป็นครั้งที่สองของไทย นับต่อจากสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยไปยังประเทศอังกฤษ และฝรั่งเศส

ทรงจ้างชาวยุโรปมารับราชการในไทย ในหน้าที่ล่ามแปลเอกสารตำรา ครูฝึกวิชาทางทหารและตำรวจ และงานด้านการช่าง ทรงตั้งโรงพิมพ์ของรัฐบาล ตั้งโรงกษาปณ์เพื่อผลิตเงินเหรียญ แทนเงินพดด้วงและเบี้ยหอยที่ใช้อยู่เดิม มีโรงสีไฟ โรงเลื่อยจักร เปิดที่ทำการศุลกากร ตัดถนนสายหลัก ๆ ได้แก่ ถนนบำรุงเมือง ถนนเฟื่องนคร ถนนเจริญกรุง และถนนสีลม มีรถม้าขึ้นใช้ครั้งแรก ขุดคลองผดุงกรุงเกษม คลองมหาสวัสดิ์ คลองภาษีเจริญ คลองดำเนินสะดวก และคลองหัวลำโพง

ด้านการปกครอง ได้จัดตั้งตำรวจนครบาล ศาล แก้ไขกฎหมายให้ทันสมัย ให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา

ด้านศาสนา ได้สร้างวัดราชประดิษฐ์ วัดมงกุฎกษัตริยารามและวัดปทุมวนาราม เป็นต้น ทรงเชี่ยวชาญทางโหราศาสตร์ สามารถคำนวณการเกิดจันทรุปราคา และสุริยุปราคาได้อย่างแม่นยำ ทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาหมดดวงในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ปี พ.ศ. 2411 ณ ตำบลหว้ากอ(คลองวาฬ) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้อย่างถูกต้อง

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5



ครองราชย์ 42 ปี (พ.ศ. 2411-2453) พระชนมายุ 58 พรรษา


เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2396 มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ ก่อนขึ้นครองราชย์ทรงดำรงพระยศเป็น กรมขุนพินิตประชานาถ
พระองค์ได้ทรงสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ประเทศนานัปการ ทรงบริหารประเทศก้าวหน้าทัดเทียมนานาอารยประเทศ ทรงประกาศเลิกทาส ปรับปรุงระบบการศาล ตั้งกระทรวงยุติธรรม ปรับปรุงกฎหมายต่าง ๆ ส่งเสริมการศึกษาอย่างกว้างขวางในหมู่ประชาชนทั่วไป ตั้งกระทรวงธรรมการ ตั้งโรงเรียนฝึกหัดครู ส่งนักเรียนไทยไปศึกษาในยุโรป สร้างการรถไฟ โดยทรงเปิดเส้นทางเดินรถไฟสายกรุงเทพ ฯ ถึงนครราชสีมา เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2421 สร้างโรงไฟฟ้า จัดให้มีการเดินรถรางขึ้นในกรุงเทพ ฯ จัดตั้งการ ไปรษณีย์โทรเลข เมื่อ พ.ศ. 2421 สร้างระบบการประปา ฯลฯ

ด้านการต่างประเทศ ทรงมีวิสัยทัศน์กว้างไกลยิ่งนัก ได้ทรงนำประเทศไทย ให้รอดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตกได้ตลอดรอดฝั่ง โดยดำเนินวิเทโศบาย ผูกสัมพันธไมตรีกับประเทศมหาอำนาจ เพื่อคานอำนาจ พระองค์ได้เสร็จประพาสยุโรป ถึงสองครั้ง โดยได้เสร็จเยือนประเทศ ฝรั่งเศส รัสเซีย เยอรมนี อังกฤษ ออสเตรีย ฮังการี เบลเยี่ยม อิตาลี สวีเดน และเดนมาร์ก เมื่อ ปี พ.ศ. 2440 ทรงแต่งตั้งราชทูตไปประจำ ประเทศต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2424 ได้แก่ อิตาลี เยอรมัน เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม ออสเตรีย ฮังการี เดนมาร์ก สวีเดน โปรตุเกส นอร์เว และ สเปน อังกฤษ ในปี พ.ศ. 2425 สหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2427 รัสเซียในปี พ.ศ. 2440 และญี่ปุ่นใน ปี พ.ศ. 2442

พระองค์ทรงปกครองอาณาประชาราษฎร ให้เป็นสุขร่มเย็นโปรดการเสด็จประพาสต้น เพื่อให้ได้ทรงทราบความเป็นอยู่ที่แท้จริงของพสกนิกร ทรงสนพระทัยในวิชาความรู้ และวิทยาการแขนงต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง และนำมาใช้บริหารประเทศให้ เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว พระองค์จึงได้รับถวายพระราชสมัญญานามว่า สมเด็จพระปิยะมหาราช

ด้านการพระศาสนา ทรงทำนุบำรุง และจัดการให้เหมาะสม เจริญรุ่งเรือง ทรงสถาปนามหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยขึ้น ณ วัดมหาธาตุ และมหามงกุฎราชวิทยาลัยขึ้น ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อให้เป็นสถานศึกษาพระปริยัติธรรม และวิชาการชั้นสูง นอกจากนั้น ยังทรงสร้างวัดเทพศิรินทราวาส และวัดเบญจมบพิตร ซึ่งนับว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่งดงามยิ่งแห่งหนึ่งของกรุงเทพ ฯ

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๖



ครองราชย์ ๑๖ ปี (พ.ศ. ๒๔๕๓-๒๔๖๘) พระชนมายุ ๔๖ พรรษา


เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๓ มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จเจ้าฟ้า กรมขุนเทพทวาราวดี เมื่อพระชนมายุได้ ๘ พรรษา เมื่อพระชนมายุได้ ๑๑ พรรษา ได้เสด็จไปศึกษาวิชาการที่ประเทศอังกฤษ ทรงศึกษาในมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และศึกษาวิชาการทหารบก ที่โรงเรียนนายร้อยแซนด์เฮิสต์ ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรม โอรสาธิราชสยามมงกุฎราชกุมาร เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๗

เสด็จกลับประเทศไทยแล้ว ทรงเข้ารับราชการในตำแหน่งจเรทัพบก และทรงบัญชาการทหารมหาดเล็ก ดำรงพระยศพลเอก

เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ ได้ทรงปรับปรุงด้านการศึกษาของไทย โปรดให้ตราพระราชบัญญัติประถมศึกษา ให้เป็นการศึกษาภาคบังคับ ทรงตั้งกระทรวงการทหารเรือ กองเสือป่า และกองลูกเสือ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กรมศิลปากร โรงไฟฟ้าหลวงสามเสน คลังออมสิน กรมสถิติพยากรณ์ กรมสรรพากร กรมตรวจเงินแผ่นดิน กรมมหาวิทยาลัย กรมรถไฟหลวง และเปิดเดินรถไฟไปเชื่อมกับมลายู ตั้งสถานเสาวภาและกรมร่างกฎหมาย ทรงเปลี่ยนการใช้ รัตนโกสินทรศก (ร.ศ) เป็นพุทธศักราช (พ.ศ.)

พระองค์ได้ทรงปลูกฝังความรักชาติให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชาวไทย ทรงเป็นศิลปิน และส่งเสริมงานประพันธ์เป็นอย่างมาก ทรงเป็นผู้นำในการประพันธ์วรรณคดีไทย ทั้งที่เป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง ทรงเขียนหนังสือทางด้านประวัติศาสตร์ และด้านการทหารไว้เป็นจำนวนมาก ประมาณถึง ๒๐๐ เรื่อง พระองค์จึงได้รับถวายพระราชสมัญญานามว่า สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ทรงเป็นนักปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งของไทย

การปกครองประเทศ ได้ทรงเจริญรอยตามสมเด็จพระราชบิดา สานต่องานที่ยังไม่เสร็จสิ้น ในรัชสมัยของพระองค์ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๑ โดยมีสมรภูมิอยู่ในทวีปยุโรป ทรงตัดสินพระทัยประกาศสงครามกับเยอรมัน โดยเข้าร่วมกับสัมพันธมิตร ได้ส่งทหารไทยไปร่วมรบ ณ ประเทศฝรั่งเศส ผลที่สุดได้เป็นฝ่ายชนะสงคราม ทำให้ไทยได้รับการแก้ไขสนธิสัญญา ที่ไทยเสียเปรียบต่างประเทศได้เป็นอันมาก

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๗



ครองราชย์ ๙ ปี (พ.ศ. ๒๔๖๘-๒๔๗๗) พระชนมายุ ๔๘ พรรษา


เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๖ มีพระนามเดิมว่าสมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ เป็นพระราชโอรสพระองค์เล็กของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ได้รับสถาปนาเป็นกรมขุนสุโขทัยธรรมราชา เมื่อพระชนมายุได้ ๑๒ พรรษา ได้เสด็จไปศึกษาวิชาการทหารบก ที่ประเทศอังกฤษ และฝรั่งเศส

สำเร็จการศึกษาแล้วเสด็จกลับประเทศไทย เข้ารับราชการที่กองพันทหารปืนใหญ่ ที่ ๑ รักษาพระองค์ ในตำแหน่งผู้บังคับกองร้อย ต่อมาได้รับราชการในตำแหน่ง ผู้บังคับการโรงเรียนนายร้อยทหารบกชั้นปฐม ปลัดกรมเสนาธิการทหารบก ผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ ๒ แล้วได้ทรงกรมเป็นกรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา

เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ ในช่วงเวลาที่ เศรษฐกิจของประเทศและของโลกกำลังทรุดหนัก อันเป็นผลเนื่องมาจากสงครามโลก ครั้งที่ ๑ ซึ่งพระองค์ก็ได้ทรงแก้ไขอย่างเต็มพระกำลังความสามารถจนประเทศไทย ได้รอดพ้นจากวิกฤติการณ์นั้นได้

ในรัชสมัยของพระองค์ ไทยสามารถติดต่อกับนานาประเทศทางวิทยุ และโทรเลขได้โดยทั่วไปเป็นครั้งแรก ทรงพระราชทานนามหอสมุดแห่งชาติ พิมพ์พระไตรปิฎกเล่มใหม่ สร้างโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย เปิดเดินรถไฟไปถึงชายแดนไทยติดต่อกับเขมร แก้ไขระบบการจัดเก็บภาษีอากรใหม่ ตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยประกาศพระราชบัญญัติเงินตรา และทรงตรากฎหมายอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก สร้างสะพานพระปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพระพุทธยอดฟ้า ฯ )

วันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ คณะราษฎร์ ได้ปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง ต่อมาเมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ พระองค์ได้ตัดสินพระทัยสละราชสมบัติ ต่อมาได้เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ ณ ประเทศอังกฤษ

พระราชหัตถเลขาที่ทรงลาออกจากราชบัลลังค์ มีความตอนหนึ่งว่า "ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใดโดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจโดยสิทธิขาดและโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร"


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
รัชกาลที่ ๘



ครองราชย์ ๑๓ ปี (พ.ศ.๒๔๗๗- ๒๔๘๙) พระชนมายุ ๒๑ พรรษา


เสด็จพระราชสมภพ เมื่อ วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๘ ณ เมืองไฮเดลเบิร์ก ประเทศเยอรมัน ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่สองของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์ อดุลยเดชวิกรม บรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

เมื่อพระชนมายุได้ ๓ เดือน ได้ตามเสด็จพระบรมชนกนาถและพระราชมารดา ไปประทับอยู่ ณ ประเทศฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกา จนพระชนมายุได้ ๓ พรรษา จึงเสด็จกลับประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๑ หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง สมเด็จพระราชชนนีได้นำเสด็จไปประทับอยู่ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๖

เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติ เมื่อ วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อพระชนมายุได้ ๑๐พรรษา จึงต้องมีคณะผู้สำเร็จราชการแผ่นดินปฏิบัติหน้าที่แทนพระองค์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวรรตน์จาตุรงต์ เป็นประธาน ต่อมาพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา เป็น ประธาน

พระองค์มีน้ำพระราชหฤทัยเปี่ยมด้วยพระเมตตากรุณาในพสกนิกร โปรดการ ศึกษา การกีฬา การช่างและการดนตรี ได้เสด็จไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิต- เซอร์แลนด์ เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ สงบ ได้เสด็จนิวัติประเทศไทย เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จึงได้ถวายราชกิจ เพื่อให้ทรงบริหารโดยพระราชอำนาจ

เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๙ ได้เกิดเหตุการณ์อันไม่คาดฝัน พระองค์ต้องอาวุธปืน เสด็จสวรรคต ณ ที่นั่งบรมพิมานในพระบรมมหาราชวัง ยังความเศร้าสลด และความอาลัยรักจากพสกนิกรเป็นที่ยิ่ง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
รัชกาลที่ ๙



ครองราชย์ ตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๔๘๙ จนถึงปัจจุบัน


เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ ณ มลรัฐแมซซาชูเซทส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นพระราชโอรสองค์เล็กของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์ อดุลยเดชวิกรม บรมราชชนกและสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

เมื่อพระชนมายุได้ ๑ พรรษา ได้เสร็จนิวัตสู่ประเทศไทยในปี พ.ศ. ๒๔๗๑ ภายหลังจากที่สมเด็จพระราชบิดาเสด็จทิวงคตแล้ว ได้เสด็จกลับไปประทับที่เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และเข้ารับการศึกษา ณ ที่นั้น เมื่อสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ ได้เสด็จขึ้นครองราชย์สืบแทน เมื่อพระชนมายุได้ ๑๙ พรรษา โดยมีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แล้วทรงเสด็จไปศึกษาต่อในวิชานิติศาสตร์ ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

พระองค์ได้เสด็จนิวัติสู่ประเทศไทย เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๙๓ เพื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลและได้ทรงเข้าพระราชพิธี อภิเษกสมรสกับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งขณะนั้นดำรงพระยศ เป็น ม.ร.ว.สิริกิต์ กิติยากร พระธิดาของพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ และได้ประกาศ พระบรมราชโองการสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมราชินี

ได้มีพระบรมราชาภิเษก เฉลิมพระปรมาภิไธยว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร์ รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร์ สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๓

ได้เสด็จกลับไปทรงศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๓ จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๙๔ จึงเสด็จนิวัติพระนคร ได้เสด็จออกผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๙๙ แล้วเสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ระหว่างที่ทรงผนวช สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จึงได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้สถาปนาเป็นสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเป็นเอนกประการ แผ่ไพศาลไปทั่วทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ทรงเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศทั้งในยุโรป เอเชีย และ อเมริกา เพื่อเจริญพระราชไมตรีอย่างกว้างขวาง ปรากฎพระเกียรติคุณอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ด้านในประเทศทรงเสด็จเยี่ยมเยียนราษฎรในชนบทที่อยู่ห่างไกล เพื่อรับทราบปัญหาต่างๆ โดยตรงและได้ทรงริเริ่มโครงการตามพระราชดำริ เพื่อแก้ปัญหาเหล่านั้น พร้อมทั้งพัฒนาให้ดีขึ้น เพื่อให้สามารถช่วยตนเองได้

พระราชกรณียกิจของพระองค์ ทั้งในฐานะที่ทรงเป็นพระประมุขของประเทศ และในฐานะส่วนพระองค์เป็นไปอย่างไม่หยุดยั้ง ทรงเต็มเปี่ยมด้วยทศพิธราชธรรม ทรงมีพระอัจฉริยภาพในด้านต่าง ๆ ยากที่จะหาผู้เสมอเหมือน ทรงมีพระราชศรัทธาตั้งมั่น และแตกฉานในพระศาสนาและทรงถ่ายทอดแก่พสกนิกรของพระองค์ในทุกโอกาส ดังเราจะได้พบในพระบรมราโชวาทที่พระราชทานแก่ประชาชนในโอกาสต่าง ๆ อย่างมิรู้สิ้น

พระมหากษัตริย์สมัยธนบุรี

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
(สมเด็จพระบรมราชาที่ ๔)



สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระนามเดิมว่า สิน ทรงพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ. ๒๒๗๗ ที่บ้านใกล้กำแพงพระนครศรีอยุธยา พระราชบิดามีบรรดาศักดิ์เป็นขุนพัฒน์ พระราชมารดาชื่อ นกเอี้ยง ต่อมาภายหลังได้รับการสถาปนาเป็นกรมพระเทพามาตย์ เจ้าพระยาจักรี สมุหนายก ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ได้ขอรับไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม เมื่ออายุได้ ๑๓ ปี เจ้าพระยาจักรี ได้นำเข้าถวายตัวรับราชการเป็นมหาดเล็ก ทำราชการอยู่ในบังคับบัญชาของหลวงศักดิ์นายเวร เมื่ออายุได้ ๒๑ ปี เจ้าพระยาจักรี ได้ทำการอุปสมบทให้ในสำนักพระอาจารย์ทองดี วัดโกษาวาส (วัดเชิงท่า) อยู่สามพรรษาแล้วลาสิกขาเข้ารับราชการตามเดิม

ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ (สมเด็จพระบรมราชาที่ ๓) ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นข้าหลวงพิเศษเดินทางไปชำระคดีความตามหัวเมืองฝ่ายเหนือ มีความดีความชอบ ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นหลวงยกกระบัตรเมืองตาก ต่อมาเมื่อพระยาตากถึงแก่กรรม ก็ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นพระยาตากแทน

เมื่อพม่ายกกำลังเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยาก่อนที่กรุงศรีอยุธยาจะเสียแก่พม่าครั้งที่สอง พระยาตากได้เข้ามาช่วยราชการป้องกันกรุงศรีอยุธยาอย่างเข้มแข็ง แต่ในที่สุดเมื่อเห็นว่าการป้องกันกรุงศรีอยุธยาในครั้งนั้น ไม่อำนวยให้กระทำได้อย่างเต็มที่ และอยู่นอกอำนาจหน้าที่ที่พระองค์จะแก้ไขได้ จึงได้หาทางต่อสู้ใหม่ ด้วยการตีฝ่าวงล้อมพม่าออกไป ด้วยกำลังเล็กน้อยเพียง ๕๐๐ คน ได้ต่อสู้กับกองทหารพม่าที่บ้านพรานนก ได้ชัยชนะจากนั้นได้นำกำลังไปตั้งมั่นที่เมืองจันทบุรี เพื่อรวบรวมกำลังมากู้กรุงศรีอยุธยาที่เสียแก่พม่า เมื่อวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ.๒๓๑๐

เมื่อพระองค์ทรงรวบรวมกำลังพลได้ประมาณ ๕,๐๐๐ คน กับเรือรบ ๑๐๐ ลำ ก็ได้ยกกำลังทางเรือเข้ายึดเมืองธนบุรี ได้เมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๓๑๑ ในวันต่อมาพระองค์ได้ตีค่ายทหารพม่าที่ค่ายโพธิ์สามต้น และค่ายอื่นๆ แตกทุกค่าย ทำการกู้เอกราชกรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จในเวลาเพียงเจ็ดเดือน

หลังจากขับไล่พม่าออกไปแล้วพระองค์ก็ได้ทำพิธีปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๓๑๑ เมื่อพระชนมายุได้ ๓๔ พรรษา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ หรือสมเด็จพระบรมราชที่ ๔ แต่คนทั่วไปนิยมขนานพระนามพระองค์ว่า สมเด็จพระเจ้กรุงธนบุรี หรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

พระองค์ทรงเห็นว่า กรุงศรีอยุธยาที่ถูกฝ่ายพม่าเผาผลาญวอดวาย ทำลายบ้านเมืองไปหมดสิ้น เกินกว่าที่จะบูรณปฎิสังขรณ์ให้กลับเป็นเมืองหลวงได้ จึงทรงเลือกเมืองธนบุรี ที่มีความเหมาะสมกว่าขึ้นเป็นราชธานี

พระราชกรณียกิจของพระองค์ในลำดับต่อมา คือการรวบรวมกำลังไว้ต่อสู้กับพม่าต่อไปคือ ความเป็นปึกแผ่นของพระราชอาณาจักร ซึ่งในเวลานั้นได้มีผู้ตั้งตนเป็นใหญ่ห้าชุมนุมต่าง ๆ ได้แก่ ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก ชุมนุมเจ้าพระฝาง ชุมนุมเจ้าพิมาย และชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช เมื่อรวมชุมนุมของพระองค์เองที่กรุงธนบุรีแล้วก็มีถึงห้าชุมนุม พระองค์ทรงใช้เวลาในการปราบปรามชุมนุมต่าง ๆ อยู่สามปีจึงเสร็จ ปราบปรามได้เสร็จสิ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๓ ทำให้พระราชอาณาจักรเป็นปึกแผ่น ส่วนหัวเมืองมาลายูได้แก่ เมืองปัตตานี เมืองไทรบุรี เมืองกลันตัน และเมืองตรังกานู ซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยามาแต่เดิม และได้แยกตัวเป็นอิสระเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง พระองค์เห็นว่ายังไม่พร้อม และยังไม่มีความสำคัญเร่งด่วน ที่จะไปปราบปรามจึงได้ปล่อยไปก่อน

ในการทำสงครามกับพม่าในระยะต่อมา พระองค์ได้เปลี่ยนหลักนิยมในการยึดพระนครเป็นที่ตั้งรับข้าศึก มาเป็นการยกกำลังไปยับยั้งข้าศึกที่ชายแดน ทำให้ประชาชนพลเมืองไม่ได้รับอันตรายเสียหายเดือดร้อนจากข้าศึก ในรัชสมัยของพระองค์ ได้มีการทำสงครามขยายพระราชอาณาเขต ของกรุงศรีอยุธยาออกไปอย่างกว้างขวาง โดยได้ทำศึกสงครามกับพม่า และอาณาจักรอื่น ๆ รวม ๑๒ ครั้งคือ

พ.ศ.๒๓๑๐ ศึกพม่าที่บางกุ้ง

พ.ศ.๒๓๑๒ ศึกเมืองเขมรครั้งที่ ๑

พ.ศ.๒๓๑๔ ศึกเมืองเชียงใหม่

พ.ศ.๒๓๑๔ ศึกเมืองเขมรครั้งที่ ๒

พ.ศ.๒๓๑๕ - ๒๓๑๖ ศึกพม่าตีเมืองพิชัย

พ.ศ.๒๓๑๗ ศึกเมืองเชียงใหม่

พ.ศ.๒๓๑๘ ศึกพม่าที่บางแก้ว

พ.ศ.๒๓๑๘ ศึกอะแซหวุ่นกี้ตีเมืองพิษณุโลก

พ.ศ.๒๓๑๙ ศึกเมืองนครจำปาศักดิ์

พ.ศ.๒๓๑๙ ศึกพม่าตีเมืองเชียงใหม่

พ.ศ.๒๓๒๑ ศึกตีเมืองเวียงจันทน์

พ.ศ.๒๓๒๓ ศึกเมืองเขมรครั้งที่ ๓

ในปีพ.ศ.๒๓๒๔ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และเจ้าพระยาสุรสีห์ ยกทัพไปปราบเขมร แต่ต้องยกทัพกลับเนื่องจากทางกรุงธนบุรีเกิดจราจล โดยพระยาสรรค์ได้ก่อกบฏ ยกกำลังเข้ายึดกรุงธนบุรี แล้วจับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ให้ไปทรงผนวชที่วัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง) เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหาษัตริย์ศึก ยกทัพกลับมาถึงกรุงธนบุรี ได้ปราบปรามกบฎได้สำเร็จ ราษฎรและบรรดามหาอำมาตย์ จึงได้พร้อมใจกันอัญเชิญให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกขึ้นครองราชย์ เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ.๒๓๒๕

ตลอดรัชสมัยของพระองค์ได้ทรงทำศึกสงครามมาโดยตลอดเวลา ๑๕ ปี โดยมิได้หยุดหย่อน ได้ขยายพระราชอาณาเขตของกรุงธนบุรีออกไป จนเกือบเท่ากับสมัยกรุงศรีอยุธยาก่อนเสียกรุงแก่พม่า พระองค์ได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช