วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2552

พระมหากษัตริย์สมัยสุโขทัย

พระมหากษัตริย์สมัยสุโขทัย
พ่อขุนศรีอินทราทิตย
พ่อขุนบาลเมือง
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
พระเจ้าเลอไท
พระเจ้าลิไท
พระเจ้าไสยลือไทย
พระมหาธรรมราชาที่ ๓ และพระมหาธรรมราชาที่ ๔
ผังเมืองสุโขทัย อุทยานประวัติศาสตร์


จากหลักฐานในศิลาจารึก พระเจ้าแผ่นดินไทย ในสมัยราชอาณาจักรสุโขทัย มีอยู่ ๘ พระองค์ อยู่ในราชวงศ์เดียวกัน คือราชวงศ์พระร่วง ปกครองอาณาจักรสุโขทัย ตั้งแต่ พ.ศ.๑๗๘๑ ถึง พ.ศ. ๑๙๘๑ รวมระยะเวลา ประมาณ ๒๐๐ ปี มีลำดับดังนี้


พ่อขุนศรีอินทราทิตย์


ครองราชสมบัติ ตั้งแต่ พ.ศ.๑๗๘๑ แต่ไม่ปรากฏปีที่สิ้นสุดการครองราชสมบัติ พระองค์ทรงนำชนชาติไทย ต่อสู้กับชนชาติขอมซึ่งเป็นใหญ่อยู่ในสุวรรณภูมิ อันเป็นที่ตั้งของ ประเทศไทยส่วนใหญ่ในปัจจุบัน ซึ่งรวมถึงกรุงสุโขทัยด้วย ทรงได้ชัยชนะขอม และประกาศอิสรภาพ ตั้งราชอาณาจักรสุโขทัย ทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์แรก และเป็นต้นราชวงศ์พระร่วง


พ่อขุนบาลเมือง


ครองราชสมบัติ พ.ศ.ใดไม่ปรากฏถึง พ.ศ.๑๘๒๒ (ไม่มี รายละเอียด) สำหรับพระมหากษัตริย์พระองค์นี้ เป็น พระราชโอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ และพระนางเสือง และเป็นพระเชษฐาของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช


พ่อขุนรามคำแหงมหาราช



ครองราชสมบัติ ตั้งแต่ พ.ศ.๑๘๒๒ ถึง พ.ศ.๑๘๔๒ รวม ๒๐ ปี เป็นพระราชโอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ และพระนางเสือง เป็นพระอนุชาของพ่อขุนบาลเมือง พระองค์ได้สร้างความเจริญรุ่งเรืองแก่ราชอาณาจักรไทย มากที่สุดพระองค์หนึ่ง กล่าวคือ ขยายอาณาเขตประเทศไทยออกไปอย่างกว้างขวางทุกทิศทางอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ทรงประดิษฐ์อักษรไทยซึ่งเป็นรากฐานของหนังสือไทยที่ใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน ส่งเสริมการค้าอย่างเสรี โดยไม่เก็บภาษีทั้งภายใน และภายนอกประเทศ ส่งเสริมการเกษตร ทั้งการทำนา และการทำสวน ส่งเสริมอุตสาหกรรม เครื่องปั้นดินเผาที่เรียกว่า เครื่องสังคโลกโดยนำวิธีการมาจากประเทศจีน เครื่องสังคโลกนี้นอกจากผลิตขาย ภายในประเทศแล้ว ยังส่งไปขายยังต่างประเทศ ทางเรืออีกด้วย เช่น ฟิลิปปินส์และบอร์เนียวเป็นต้น

ส่งเสริมพุทธศาสนา โดยนำพุทธศาสนา ลัทธิเถรวาท จากลังกา มาเผยแพร่ในราชอาณาจักรสุโขทัยจนเป็นปึกแผ่น ก่อให้เกิดความสุขสงบ มีศีลธรรมอันดีในหมู่พสกนิกรชาวไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนั้นยังก่อให้เกิดศิลปวัตถุที่งดงาม อันเนื่องมาจากพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท เป็นมรดกล้ำค่าตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน


พระเจ้าเลอไท


ครองราชสมบัติ ตั้งแต่ พ.ศ.๑๘๔๒ ถึง พ.ศ.๑๘๙๑ รวม ๔๙ ปี (ไม่มีรายละเอียดสำหรับพระองค์นี้)


พระเจ้าลิไทหรือพระมหาธรรมราชาที่ ๑


ครองราชสมบัติตั้งแต่ พ.ศ.๑๘๙๑ ถึง พ.ศ. ๑๙๑๒ รวม ๒๑ ปี เป็นโอรสของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงเป็นทั้งนักรบ และนักอักษรศาสตร์ รวมทั้งนักพัฒนาที่สำคัญพระองค์หนึ่ง ในด้านอักษรศาสตร์ ทรงนิพนธ์ หนังสือไตรภูมิพระร่วง ซึ่งนับว่าเป็น หนังสือทางพุทธศาสนาที่สำคัญมากเล่มหนึ่ง ด้านพุทธศาสนาและศิลปกรรม ทรงโปรดให้หล่อพระพุทธรูปสำคัญของไทยไว้ ถึง ๓ องค์ด้วยกัน คือ พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดา ด้านการพัฒนา ทรงโปรดให้ตัดถนนเชื่อมเมืองสำคัญๆ ในสมัยนั้น ที่เรียกว่า ถนนพระร่วง เพื่อให้การสัญจรไปมาได้สะดวก และน่าจะเป็นประโยชน์ในการป้องกันราชอาณาจักรอีกด้วย


พระเจ้าไสยลือไทย หรือ พระมหาธรรมราชาที่ ๒

ครองราชสมบัติ ตั้งแต่ พ.ศ.๑๙๑๓ ถึง พ.ศ.๑๙๓๑ รวม ๑๘ ปี (ไม่มีรายละเอียดสำหรับพระองค์นี้)


พระมหาธรรมราชาที่ ๓ และพระมหาธรรมราชาที่ ๔


ครองราชสมบัติตั้งแต่ พ.ศ.๑๙๓๑ ถึง พ.ศ.๑๙๖๒ และ พ.ศ.๑๙๖๒ ถึง พ.ศ.๑๙๘๑ รวม ๓๑ ปี และ ๑๙ ปี ตามลำดับ (ไม่มีรายละเอียดสำหรับ สองพระองค์นี้)


พ่อขุนศรีอินทราทิตย
พ่อขุนบาลเมือง
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
พระเจ้าเลอไท
พระเจ้าลิไท
พระเจ้าไสยลือไทย
พระมหาธรรมราชาที่ ๓ และพระมหาธรรมราชาที่ ๔