วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2552

ราชาศัพท์

คำราชาศัพท์
Page 1 2 3 4 5 6 7
ภาษาไทย เป็นภาษาประจำชาติของคนไทย ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจอย่างยิ่งทั้งยังมีลักษณะพิเศษเฉพาะไม่เหมือนกับภาษาอื่นใดในโลกเราทุกคนจึงควรรักษาภาษาไทยอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรม ให้สืบทอดต่อกันมาจนถึงคนไทยรุ่นใหม่ตลอดไป

ภาษาไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงมาตลอดเวลา เพื่อให้เข้ากับแต่ละยุคแต่ละสมัย และยังรับเอาภาษาต่างประเทศอื่นๆ เข้ามาผสมกลมกลืนกับภาษาไทย ทำให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นภาษาของเราเอง

ในการที่ไทยมีระเบียบประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามนี้นั้นทำให้รู้จักนำภาษาไทยมาใช้ได้อย่างเหมาะสมกับฐานะของบุคคล แสดงให้เห็นถึงความมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวของภาษาไทย ไม่มีภาษาอื่นใดเสมอเหมือน เพราะว่าในการนำมาใช้กับบุคคลแต่ละฐานะนั้น เราใช้คำในภาษาไทยไม่เหมือนกัน แม้ว่าความหมายจะเป็นอย่างเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแล้ว ถ้าเป็นพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ที่เราเทิดทูนเราก็มีภาษาไทยลักษณะพิเศษอีกชุดหนึ่งที่นำมาใช้ซึ่งเราเรียกว่าราชาศัพท์

ราชาศัพท์
เป็นคำสมาส ซึ่งเป็นภาษาบาลีและสันสกฤตรวมกัน ราช, ราชา + ศัพท์ = ราชาศัพท์ หมายถึง คำเฉพาะใช้สำหรับเพ็ดทูลพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านาย ต่อมาหมายรวมถึงคำที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์ ข้าราชการ และสุภาพชนด้วย

ส่วนใหญ่มีความเข้าใจว่าเป็นถ้อยคำภาษาที่ใช้กราบบังคมทูลกับพระมหากษัตริย์, พระบรมวงศานุวงศ์ และพระมหากษัตริย์, พระบรมวงศานุวงศ์ ใช้พูดกัน ทำให้คิดว่าเป็นภาษาไทยอีกประเภทหนึ่งที่แยกออกไปจากภาษาไทยที่คนโดยทั่วไปใช้กัน

ความหมายของราชาศัพท์นั้น หมายรวมถึงศัพท์หรือถ้อยคำที่ใช้กับ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ

พระบรมวงศานุวงศ์, พระราชวงศ์

พระภิกษุ

ข้าราชการและสุภาพชนทั่วไป

คำราชาศัพท์
นั้นเป็นคำที่ตกแต่งขึ้นเพื่อให้มีความเหมาะสมและมีลักษณะพิเศษ สมควรใช้แก่ผู้ที่เราเคารพนับถือ คำที่นำมาตกแต่งให้เป็นราชาศัพท์นั้นมีเฉพาะคำนามและคำกริยาเท่านั้น โดยได้นำภาษาอื่นเข้ามาผสมผสานให้กลมกลืนกับภาษาไทย ดังจะกล่าวถึงลักษณะของคำราชาศัพท์ คือ

เป็นคำไทย
คำนาม
จะต้องมีคำว่า พระ, พระราชา นำหน้าเพื่อตกแต่งให้เป็นราชาศัพท์ เช่น พระเจ้าแผ่นดิน, พระมเหสี, พระพี่นาง, พระเก้าอี้, พระฉาย, พระสนับเพลา ฯลฯ

คำกริยา
จะต้องมีคำว่า ทรง นำหน้า คำนาม, คำกริยา เพื่อตกแต่งให้เป็นคำราชาศัพท์ เช่น ทรงสกี, ทรงม้า, ทรงเล่นกีฬา ฯลฯ

เป็นคำประสม ได้แก่
คำไทยประสมกัน
เช่น รับสั่ง (พูด), ห้องเครื่อง (ครัว)

คำไทยประสมกับคำต่างประเทศ
เช่น น้ำพระทัย, รองพระบาท, ทอดพระเนตร, สนพระทัย, บั้นพระองค์

เป็นคำที่ยืมมาจากภาษาอื่น ได้แก่
ยืมมาจากภาษาบาลี + สันสกฤต
โดยเติมคำว่า "พระ" หรือ "พระราช" เข้าข้างหน้า เช่น พระเนตร, พระพักตร์, พระนัดดา, พระโอรส

ยืมมาจากภาษาเขมร
เช่น พระขนง (คิ้ว), พระศก, พระราชดำริ, เสวย, พระสรวล, ถวาย เป็นต้น


คำนามราชาศัพท์

ดังได้กล่าวในตอนต้นแล้วว่า ภาษาไทยมีลักษณะเด่นคือเป็นคำโดดๆ มีคำที่นำมาใช้น้อยมาก จึงจำเป็นต้องนำคำจากภาษาอื่นมาประสม และเมื่อจะนำมาใช้เป็นคำราชาศัพท์นั้นก็ใช้คำต่างๆ มาประกอบลงไปข้างหน้าหรือข้างหลัง (ท้ายคำ) คำสามัญที่ต้องการใช้เป็นราชาศัพท์มีคำว่า "พระบรมราช" "พระบรม", "พระราช", "พระ", "ต้น", "หลวง", "พระที่นั่ง" ดังมีวิธีการใช้ดังนี้

คำว่า "พระบรมราช" ใช้ประกอบหน้าคำสามัญสำหรับพระเจ้าแผ่นดินโดยเฉพาะ เช่น พระบรมราชชนนี, พระบรมราชโองการ, พระบรมราโชวาท เป็นต้น

คำว่า "พระบรม" ใช้ประกอบหน้าคำที่ใช้เฉพาะพระมหากษัตริย์ เช่น พระบรมฉายาลักษณ์, พระบรมศพ ฯลฯ

คำว่า "พระราช" ใช้ประกอบหน้าคำที่ใช้เฉพาะพระมหากษัตริย์และสมเด็จพระบรมราชินี เช่น พระราชโทรเลข, พระราชหัตถเลขา ฯลฯ

คำว่า "พระ" ใช้ประกอบหน้าคำสามัญที่ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์เพื่อให้แตกต่างกับสามัญชน เช่น พระเก้าอี้, พระกร, พระแท่น, พระชีพจร ฯลฯ

คำว่า "ต้น" ใช้ประกอบท้ายคำนามทั่วไป เพื่อแสดงว่าเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ เช่น เครื่องต้น, ช้างต้น, เรือนต้น ฯลฯ

คำว่า "หลวง" ใช้ประกอบท้ายคำนามทั่วไป เพื่อแสดงว่าเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ เช่น ลูกหลวง, ศาลาหลวง, วังหลวง, ม้าหลวง, ช้างหลวง ฯลฯ ยกเว้น คำที่มี หลวง อันมีความหมายว่า ใหญ่ ไม่ถือว่าเป็นคำราชาศัพท์ เช่น ทางหลวง, เมืองหลวง, สวนหลวง, กุ้งหลวง

คำว่า "พระที่นั่ง" ใช้ประกอบหน้าคำที่เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์และแสดงว่าเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ เช่น รถพระที่นั่ง, เรือพระที่นั่ง ฯลฯ


คำสรรพนามราชาศัพท์

คำสรรพนามราชาศัพท์
เป็นคำที่ใช้แทนชื่อบุคคลตามชั้นฐานันดรศักดิ์ที่ต่างกัน เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับลักษณะการใช้ จึงบัญญัติคำขึ้นดังนี้

คำ
ผู้ใช้
ใช้กับ
สรรพนามที่ใช้แทนชื่อผู้พูด (บุรุษที่ ๑)
ข้าพระพุทธเจ้า
บุคคลทั่วไป
พระราชา, หรือ เจ้านายชั้นสูง
เกล้ากระหม่อม
บุคคลทั่วไปหรือเจ้านายผู้น้อย
เจ้านายผู้ใหญ่



สรรพนามที่ใช้แทนผู้ที่พูดด้วย (บุรุษที่ ๒)
ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท
เจ้านายหรือ บุคคลทั่วไป
พระราชา, พระบรมราชินีนาถ
ใต้ฝ่าละอองพระบาท
เจ้านายหรือ บุคคลทั่วไป
พระบรมราชินี, พระบรมราชชนนี, พระบรมโอรสาธิราช, พระบรมราชกุมารี
ใต้ฝ่าพระบาท
เจ้านายหรือ บุคคลทั่วไป
สมเด็จเจ้าฟ้า, พระบรมวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า
ฝ่าพระบาท
บุคคลทั่วไป
อนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า ถึงพระเจ้าวรวงศ์เธอ



ใต้เท้ากรุณาเจ้า
บุคคลทั่วไป
สมเด็จเจ้าพระยา



ใต้เท้ากรุณา
บุคคลทั่วไป
เจ้าพระยา, ขุนนางชั้นสูง หรือพระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่



ใต้เท้า
บุคคลทั่วไป
ขุนนางผู้ใหญ่ หรือพระภิกษุที่นับถือ



พระคุณเจ้า
บุคคลทั่วไป
พระสงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์



พระคุณท่าน
บุคคลทั่วไป
พระภิกษุสงฆ์ทั่วไป



พระเดชพระคุณ
บุคคลทั่วไป
เจ้านาย หรือพระภิกษุที่นับถือ



สมเด็จพระบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า
พระภิกษุสามเณร
พระราชา (ในฐานะยกย่องมาก)



บพิตรพระราชสมภาร
บุคคลทั่วไป
พระราชา



หรือมหาบพิตร
บุคคลทั่วไป
เจ้านายหรือขุนนางชั้นสูง



เธอ
ผู้ใหญ่ หรือบุคคลทั่วไป
ผู้น้อย บุคคลทั่วไป (ในฐานะสนิทกัน)



สรรพนามที่ใช้แทนผู้ที่พูดถึง (บุรุษที่ ๓)
พระองค์
บุคคลทั่วไป หรือเจ้านาย
พระพุทธเจ้า, เทพผู้เป็นใหญ่, พระราชา และเจ้านาย



ท่าน
บุคคลทั่วไป
เจ้านาย, ขุนนางผู้ใหญ่, พระภิกษุ และผู้ใหญ่ที่นับถือ





การเทียบคำสามัญ กับคำราชาศัพท์

คำสามัญ
คำราชาศัพท์


กรรไตร
พระแสงกรรไตร
กรรไกร
พระแสงปนาค
กรอบหน้า
พระอุณหิส


กระจกส่องหน้า
พระฉาย


กระดานไฟ
พระแท่นบรรทมเพลิง


กระดูก
พระบรมอัฐิ, บรมอัฐิ


กระดูก
พระอัฐิ (เจ้านาย)


กระดูกศพที่เผาแล้ว
พระอังคาร


กระโถนเล็ก
พระสุพรรณศรี


กระโถนใหญ่
พระสุพรรณราช


กระโถน
บ้วนพระโอษฐ์ (เจ้านาย)


กระบวย
ทรงตัก


กระบวนทัพ
พยุหบาตร


กระบวนพลรบ
พยุหโยธา


กระบังหน้า
พระอุณหิส


กระเป๋าหมากบุหรี่
พระล่วม
กระพุ้งแก้ม

พระกำโบล

กระผม

ข้าพระพุทธเจ้า (พระราชา)

กระผม

เกล้ากระหม่อม (เจ้านาย)

กระผม

เกล้ากระผม (ข้าราชการผู้ใหญ่)

กระผม

เกล้ากระผม (พระภิกษุผู้ใหญ่)

กระผม

เกล้ากระผม (พระภิกษุที่นับถือ)

กระผม

เกล้าฯ (ข้าราชการผู้ใหญ่, ภิกษุที่นับถือ)

กะพริบตา

ทรงกะพริบพระเนตร

กระแอม

ทรงกระแอม

กระแอม

ทรงพระขิปสัทโท (-จากจินดามณี)

กองทัพใหญ่

หยุหแสนยากร

กริช

พระแสงกริช

กริ้ว

ทรงพระพิโรธ

กล้วยกุ

กล้วยสั้น

กล้วยไข่
กล้วยกระ


กล้วยไข่
กล้วยเปลือกบาง


ก้น
พระที่นั่ง


กะปิ
เยื่อเคย


กั้นร่ม
อยู่งานพระกลด


กั้นกลด
ถวายพระกลด


กั้นฉัตร
เถลิงฉัตร


กับข้าว
เครื่องคาว


กางเกง
พระสนับเพลา


กางเกื้อกูลอุดหนุน
พระบรมราชูปถัมภ์ (พระราชา)


การเกื้อกูลอุดหนุน
พระบรมราชินูปถัมภ์ (พระราชินี)


การเขียนหนังสือ
ทรงพระอักษร


การตกแต่งซ่อมแซม
ทรงปฏิสังขรณ์


การแต่งตัว
ทรงเครื่อง (พระราชา)


การแต่งตัว
แต่งพระองค์ (เจ้านาย)


การแต่งหนังสือ
ทรงพระราชนิพนธ์ (พระราชา)


การแต่งหนังสือ
ทรงนิพนธ์ (เจ้านาย)


การแต่งหนังสือ
ทรงเรียบเรียง (เจ้านาย)


การแต่งหนังสือ
ทรงแต่ง (เจ้านาย)


การทักทาย

พระราชปฏิสันถาร (พระราชา)

การทักทาย
ทรงปฏิสันถาร (เจ้านาย)


การนั่งยามตามไฟ
กลาบาต


การรดน้ำ (สมรส)
อภิเษก


การถือ
เชิญ


การยก
เชิญ


การนำ
เชิญ


กิน
เสวย


กินยา
เสวยพระโอสถ


เกิด
พระบรมราชสมภพ (พระราชา)


เกิด
ประสูติ (เจ้านาย)


เกื้อกูลอุดหนุน
พระอุปถัมภ์ (เจ้านาย)


แก่เฒ่า
ทรงพระชรา


แก้ม
พระปราง


โกนจุก
โสกันต์ (พระราชา)


โกนจุก
เกศากันต์ (หม่อมเจ้า)


โกนจุก
จรดกรรบิดกรรไตร (ม.ร.ว.)


โกรธ
ทรงพระพิโรธ


กำไลข้อเท้า
ทอง (ข้อ) พระบาท


กำไลข้อมือ
ทอง (ข้อ) พระกร


กำไลรัดต้นแขน
พาหุรัด


กำมือ
พระมุฐิ


กำหมัด
พระมุฐิ


เก้าอี้ธรรมดา
พระเก้าอี้




ขน
พระโลมา


ขนตา
พระโลมะจักษุ


ขนระหว่างคิ้ว
พระอุณาโลม


ขนรักแร้
พระโลมะกัจฉะ


ขนในที่บลับ
พระโลมะชาติ


ขนมขี้หนู
ขนมทราย


ขนมใส่ไส้
ขนมสอดไส้


ขนมตาล
ขนมทองฟู


ขนมจีน
ขนมเส้น


ขนมเทียน
ขนมบัวสาว


ขรรค์
พระขรรค์


ขอ
ขอพระราชทาน (พระราชา)


ขอ
ขอประทาน (เจ้านาย)


ขอโทษ
ไม่ควรจะกราบบังคมทูลพระกรุณา (ใช้กับพระราชา)


ขอโทษ
ไม่ควรจะกราบบังคมทูล (ใช้กับเจ้านายชั้นสูง)


ขอโทษ
ไม่ควรจะกราบทูล (ใช้กับเจ้านาย)


ขอโทษ
ไม่ควรจะกราบเรียน (ใช้กับขุนนางชั้นสูง)


ขอโทษ
ขอประทานอภัยโทษ (ใช้กับขุนนาง, ภิกษุ)


ขอโทษ
ขอประทานโทษ (ใช้กับขุนนาง, ภิกษุ)


ขอโทษ
ขออภัยโทษ (ใช้กับบุคคลทั่วไป)


ขอรับ (ตอบรับ)
พระพุทธเจ้าข้าขอรับใส่เกล้าใส่กระหม่อม (ใช้กับพระราชา)


ขอรับ
เพคะใส่เกล้าใส่กระหม่อม (หญิงใช้กับพระราชา)


ขอรับ
พระพุทธเจ้าข้าขอรับ (ชายใช้กับเจ้านายชั้นสูง)


ขอรับ
พระพุทธเจ้าข้า (ชายใช้กับเจ้านายชั้นสูง)


ขอรับ
ขอรับกระหม่อม (ชายใช้กับ ม.จ.)


ขอรับ
กระหม่อม (ชายใช้กับ ม.จ.)


ขอรับ
เพคะกระหม่อม (หญิงใช้กับเจ้านายชั้นสูง)


ขอรับ
เพคะ (หญิงใช้กับเจ้านาย)


ขอรับ
ขอรับใส่เกล้าใส่กระหม่อม (ชายใช้กับสมเด็จเจ้าพระยา)


ขอรับ
ขอรับกระหม่อม (ชายใช้กับขุนนางชั้นสูง)


ขอรับ
ขอรับผม (ชายใช้กับขุนนาง, ภิกษุที่ยกย่อง)


ขอรับ
ครับผม (ชายใช้กับขุนนาง, ภิกษุที่ยกย่อง)


ขอรับ
เจ้าข้า (หญิงใช้กับขุนนาง, ภิกษุที่ยกย่อง)


ขอรับ
เจ้าค่ะ (หญิงใช้กับขุนนาง, ภิกษุที่ยกย่อง)


ขอเรียน (คำขึ้นต้น จ.ม.)
ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม (ใช้กับพระราชา)


ขอเรียน (จ่าหน้าซอง จ.ม.)
ขอพระราชทานทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย (ใช้กับพระราชา)


ขอเรียน (คำขึ้นต้น จ.ม.)
ขอพระราชทานกราบบังคมทูล (ใช้กับพระราชินี, ยุพราช)


ขอเรียน (คำขึ้นต้น จ.ม.)
ขอประทานกราบทูล (ใช้กับเจ้านายชั้นสูง)


ขอเรียน (คำขึ้นต้น จ.ม.)
กราบทูล (ใช้กับเจ้านาย)


ขอเรียน (คำขึ้นต้น จ.ม.)
ทูล (ใช้กับเจ้านายผู้น้อย)


ขอเรียน (คำขึ้นต้น จ.ม.)
ขอประทานกราบเรียน (ใช้กับขุนนางชั้นสูง)


ขอเรียน (คำขึ้นต้น จ.ม.)
กราบเรียน (ชายใช้กับขุนนางผู้ใหญ่, ภิกษุ)


ขอเรียน (คำขึ้นต้น จ.ม.)
ขอถวายพระพร (ภิกษุใช้กับพระราชา, เจ้านาย)


ขอเรียน (คำขึ้นต้น จ.ม.)
ขอเจริญพร (ภิกษุใช้กับเจ้านายชั้นสูง)


ขอเรียนมายัง (คำขึ้นต้น จ.ม.)
เจริญพรมายัง (ภิกษุใช้กับขุนนาง, บุคคลทั่วไป)


ขอความเห็น
เรียนกระแสพระราชปฏิบัติ (พระราชา)


ขอความเห็น
กราบเรียนพระราชปฏิบัติ


ขออนุญาต
ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต (ใช้กับพระราชา)


ขออนุญาต
ขอพระราชทานอนุญาต (ใช้กับราชินี, ยุพราช)


ขออนุญาต
ขอประทานพระอนุญาต (ใช้กับเจ้านาย, สังฆราช)


ขออนุญาต
ขอประทานอนุญาต (ใช้กับขุนนางชั้นสูง)


ขอให้ (ของเล็ก)
ขอพระราชทานทูลเกล้าฯ ถวาย (ใช้กับพระราชา)


ของให้ (ของใหญ่)
ขอพระราชทานน้อมเกล้าฯ ถวาย (ใช้กับพระราชา)


ขอให้ (สิ่งของ)
ขอประทานถวาย (เจ้านาย, สังฆราช)


ข้อเท้า
ข้อพระบาท


ข้อมือ
ข้อพระหัตถ์


ข้อมือ
ข้อพระกร


ข้อศอก
พระกัปปะ


ของกิน
เครื่องเสวย


ของเคียง
เครื่องเคียง


ของคาว (อาหาร)
พระกระยาหาร


ของว่าง (อาหาร)
เครื่องว่าง


ของหวาน (อาหาร)
เครื่องหวาน


ของประดับเกียรติ
เครื่องสูง


ของลับ (อวัยวะ)
พระคุยหฐาน


ของลับ (อวัยวะ)
พระคุยหประเทศ


ขอบตา
ขอบพระเนตร


ขอบใจ
รู้สึกขอบพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นเกล้าฯ (ใช้กับพระราชา, ราชินี, ยุพราช)


ขอบใจ
รู้สึกขอบพระเดชพระคุณเป็นล้นเกล้าฯ (ใช้กันเจ้านายชั้นสูง)


ขอบใจ
ขอบพระทัย (ใช้กับเจ้านาย)


ขอบใจ
รู้สึกขอบพระทัย (ใช้กับเจ้านาย)


ขอบใจ
รู้สึกขอบพระคุณ (ขุนนางชั้นสูง)


ขังคุก
ใส่คุก


ขังตะราง
ใส่ตะราง


ขังทิม
ใส่ทิม


ขังเล้า
ใส่เล้า


ขังกรง
ใส่กรง


ขังตุ่ม
ใส่ตุ่ม


ขันน้ำ
ขันพระสุธารส


ขมับ
พระกรรเจียก


ขา (ตัก)
พระเพลา


ขากรรไกร
ต้นพระหนุ


ขาอ่อน
พระอูรุ


ข้าพเจ้า
ข้าพระพุทธเจ้า (พระราชา)


ข้าพเจ้า
เกล้ากระหม่อม (เจ้านายผู้ใหญ่)


ข้าพเจ้า
เกล้ากระผม (ข้าราชการผู้ใหญ่และภิกษุ)


ข้าพเจ้า
เกล้าฯ (ข้าราชการผู้ใหญ่และภิกษุ)


ข้าพเจ้า
กระผม (ข้าราชการผู้ใหญ่และภิกษุ)


ข้าราชการในพระองค์
บาทมูลิกากร


ข้าว
พระกระยาเสวย (พระราชา)


ข้าว
ข้าวเสวย (เจ้านาย)


ขี่ช้าง
ทรงช้าง


ขี่รถ
ทรงรถ


ขี่เรือ
ทรงเรือ


ขี้ (คน)
มูตร


ขี้
อุจจาระ


ขี้กลาก
โรคกลาก


ขี้เกลื้อน
โรคเกลื้อน


ขี้สัตว์
มูลสัตว์


ขี้ไคล
พระเมโท


ขี้ดิน
มูลดิน


ขี้เต่า (ของคน)
มูลพระกัจฉะ


ขี้ตืด
ตระหนี่


ขี้ครั่ง
มูลครั่ง


ขี้ผึ้ง
สีผึ้ง


ขี้ฝอย
กุมฝอย


ขี้มูก
มูลพระนาสิก


ขี้แมลงวัน (ของคน)
พระปีลกะ, ปิฬก


ขี้เรื้อน
โรคเรื้อน


ขี้หู
มูลพระโสต


ขึ้นคลัง
ใส่คลัง


เข็มขัด (ประดับ)
พระปั้นเหน่ง


เข็มขัด (รัดเอวให้แน่น)
รัดพระองค์


เข่า
พระชานุ


เข้านอน
เสด็จเข้าที่บรรทม


เขียนหนังสือ
ทรงพระอักษร


เขี้ยว
พระฑาฐะ


เขี้ยว
พระฑาฒะ


แขน (เหนือศอก)
พระพาหา


แขน (เหนือศอก)
พระพาหุ


แขน (ใต้ข้อศอก)
พระกร


แข้ง
พระชงฆ์


ไขสมอง
พระมัตถลุงค์


ไขข้อ
พระลสิกา


ไข่ไก่
ฟองไก่


เขย (พี่)
พระเชษฐภรรดา


เขย (น้อง)
พระขนิษฐภคินี


เขย (ลูก)
พระชามาดา




คนขอทาน (ทั่วไป)
ยาจก


คนขอทาน
วณิพก (ผู้ร้องรำทำเพลง)


คนรับใช้ชาย
มหาดเล็ก


คนรับใช้หญิง
นางข้าหลวง


คนรับใช้
ข้าหลวงน้อย (เจ้านาย)


คนรับใช้ชิมของกิน
มหาดเล็กหรือนางข้าหลวงเทียบเครื่อง


คนที
กุณฑี (หม้อน้ำไม่มีหู)


คนโทน้ำลายทอง
พระสุวรรณภิงคาร


คนโทน้ำเย็น
พระตะพาบ


คนเลี้ยงช้าง
คชาชีพ


ความคิด
พระราชดำริ (พระราชา)


ความคิด
พระดำริ (เจ้านาย)


ความต้องการ
พระราชประสงค์ (พระราชา)


ความต้องการ
พระประสงค์ (เจ้านาย)


ความประพฤติ
พระจริยวัตร


ควาย
กระบือ


คอ
พระศอ


คอ
พระกัณฐ์, กัณฐา


คอ
พระกรรฐ์


คอ
พระกรรฐา


คอกขังช้างสำหรับคล้อง
พะเนียด


คลัง
รัตนากร


ครัว
ห้องเครื่อง


คำแก้ขัดข้อง
พระราชปฏิบัติ


คำขานรับ
พระพุทธเจ้าข้า ขอรับใส่เกล้าใส่กระหม่อม (ชายใช้กับพระราชา)


คำขานรับ
เพคะใส่เกล้าใส่กระหม่อม (หญิงใช้กับพระราชา)


คำขานรับ
พระพุทธเจ้าข้าขอรับ (ชายใช้กับเจ้านายชั้นสูง)


คำขานรับ
พระพุทธเจ้าข้า (ชายใช้กับเจ้านายชั้นสูง)


คำขานรับ
ขอรับกระหม่อม (ชายใช้กับ ม.จ.)


คำขานรับ
กระหม่อม (ชายใช้กับ ม.จ.)


คำขานรับ
เพคะกระหม่อม (หญิงใช้กับเจ้านายชั้นสูง)


คำขานรับ
เพคะ (หญิงใช้กับเจ้านาย)


คำขานรับ
ขอรับใส่เกล้าใส่กระหม่อม (ชายใช้กับสมเด็จเจ้าพระยา)


คำขานรับ
ขอรับกระผม (ชายใช้กับขุนนางชั้นสูง)


คำขานรับ
ขอรับผม (ชายใช้กับขุนนาง, ภิกษุที่ยกย่อง)


คำขานรับ
ครับผม (ชายใช้กับขุนนาง, ภิกษุที่ยกย่อง)


คำขานรับ
ขอรับ (ชายใช้กับบุคคลทั่วไป, ภิกษุสามเณร)


คำขานรับ
เจ้าข้า (หญิงใช้กับบุคคลทั่วไป, ภิกษุสามเณร)


คำขานรับ
เจ้าค่ะ (หญิงใช้กับบุคคลทั่วไป, ภิกษุสามเณร)


คำตัดสิน
พระบรมราชวินจฉัย (พระราชา)


คำตัดสิน
พระวินิจฉัย (เจ้านาย)


คำถามในข้อปัญหา
พระราชปุจฉา (พระราชา)


คำพูด
พระราชดำรัส (พระราชา)


คำพูด
พระราชกระแส (พระราชา)


คำพูด
พระดำรัส (เจ้านายชั้นสูง)


คำพูด
รับสั่ง (เจ้านาย)


คำสอน
พระบรมราโชวาท (พระราชา)


คำสอน
พระโอวาท (เจ้านาย)


คำสั่ง
พระบรมราชโองการ (พระราชา)


คำสั่ง
พระราชเสาวนีย์ (พระราชินี)


คำสั่ง
พระบัณฑูร (กรมพระ....)


คำสั่ง
พระบัญชา (เจ้านาย)


คำอธิบาย
พระบรมราชาธิบาย (พระราชา)


คำอธิบาย
พระราชาธิบาย (พระบรมราชินีนาถ)


คาง
พระหนุ (หะ-นุ)


คานหาม
ยานมาศ


คานหาม
เสลี่ยง


คิด
ทรงพระราชดำริ


คิดถึง
มีพระราชหฤทัยระลึกถึง (พระราชา)


คิดถึง
ทรงระลึกถึง (เจ้านาย)


คิ้ว
พระขนง


คิ้ว
พระโขนง


คิ้ว
พระภมู


คุณชาย
หม่อมราชวงศ์ชาย


คุณหญิง
หม่อมราชวงศ์หญิง


เครา
พระฑาฐิกะ


เครา
พระฑาฒิกะ


เครื่องกิน
เครื่องเสวย


เครื่องจองจำ
สังขลิกพันธนาการ


เครื่องแต่งตัว
เครื่องทรง


เครื่องมีคม
พระแสง


เครื่องพ่นน้ำให้เป็นฝอย
พระสุหร่าย


เครื่องใช้
เครื่องราชูปโภค (พระราชา)


เครื่องประดับต้นแขน
พาหุรัด


เครื่องประดับเกียรติยศ
เครื่องสูง


เครื่องประดับกาย
พระปิลันธน์


เครื่องประดับกาย
พระภูษณะ


เครื่องประดับอก
ทับทรวง


เครื่องทรงสำหรับพระราชา
เครื่องต้น


เครื่องลาด
พระบรรจถรณ์


เครื่องสรง
พระกระยาสนาน


เครื่องสูงบังแดด
พระบังสูรย์


เครื่องสูงบังแดด
พระบังแทรก


เครื่องสวมหัวมียอดแหลมสูง
พระมหามงกุฎ (พระราชา)


เครื่องสวมหัวมียอดแหลมสูง
พระมหาชฎา (พระราชา)


เครื่องสวมหัวมียอดแหลมสูง
พระมงกุฎ (เจ้านาย)


เครื่องสวมหัวมียอดแหลมสูง
พระชฎา (เจ้านาย)


เครื่องสำอาง
พระสำอาง


เครื่องหอม
พระสุคนธ์


เค้าแมว (นก)
อุลูก (อู-ลู-กะ)


โคนขา
พระอูรุ


โคนลิ้น
มูลพระชิวหา


โคมระย้า
อัจกลับ


ไคล
พระเมโท





Page 1 2 3 4 5 6 7